10/31/2553

จังหวัดราชบุรี Changwat Ratchaburi

ประวัติจังหวัดราชบุรี History


                                                                     จังหวัดราชบุรี


        ราชบุรี ดินแดนวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลองและสายหมอกแห่งขุนเขาตะนาวศรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มีภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำ ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจนานาชนิด สู่พื้นที่สูงทิวเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวทางทิศตะวันตกจรดชายแดนไทย-พม่า
จากตำนานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ราชบุรีเป็นหัวเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากแห่งหนึ่งของแคว้นสุวรรณภูมิมาตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดียได้เผยแพร่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแถบนี้ เมื่อราวปี พ.ศ. 218 โดยแคว้นสุวรรณภูมินี้มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครปฐมหรือที่สมัยนั้นเรียกกันว่า "ทวารวดี” ราชบุรียังเป็นแหล่งพบปะของพ่อค้าวาณิชแต่ครั้งโบราณ ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่ติดต่อกับพม่า ราชบุรีจึงเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่สุดแห่งหนึ่ง
       จังหวัดราชบุรี มีชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง หมายถึง “ เมืองพระราชา ” ราชบุรีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของประเทศไทย จากการศึกษาและขุดค้นของนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี พบว่าดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลองแห่งนี้เป็นถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของคนหลายยุคหลายสมัย และมีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุมากทำให้เชื่อได้ว่ามีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ตั้งแต่ยุคหินกลางตลอดจนได้ค้นพบเมืองโบราณสมัยทราวดีที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระยุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้เคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมืองราชบุรีเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ เป็นสมรภูมิการรบหลายสมัย โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ยกทัพมาตั้งรับศึกพม่าในเขตราชบุรีหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือสงครามเก้าทัพต่อมา พ.ศ. 2360 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกำแพงเมืองใหม่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพ.ศ. 2437 ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองส่วนภูมิภาคโดยรวมหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน ตั้งขึ้นเป็นมณฑล และได้รวมเมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองสมุทรสงคราม  เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ รวม 6 เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลราชบุรี ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ ที่เมืองราชบุรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่า) ต่อมาใน พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่บัญชาการเมืองราชบุรี จากฝั่งซ้าย กลับมาตั้งรวมอยู่แห่งเดียวกับศาลาว่าการมณฑลราชุบรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง จนถึง พ.ศ. 2476 เมื่อได้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลทั้งหมด มณฑลราชบุรีจึงถูกยกเลิกและคงฐานะเป็นจังหวัดราชุบรีจนถึงปัจจุบัน

ตราประจำจังหวัด
ความหมายของตราประจำจังหวัด เครื่องราชกกุธภัณฑ์ 2 อย่างคือ
ภาพฉลองพระบาทอยู่บนพานทอง
ภาพพระแสงขรรค์ชัยศรี ซึ่งวางอยู่บนพระที่
ทั้งนี้ก็เพราะชื่อจังหวัดราชบุรีแปลว่า เมืองของพระราชา

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกกัลปพฤกษ์ (Cassia bakeriana)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: โมกมัน (Wrightia tomentosa)
คำขวัญประจำจังหวัด: คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี

แหล่งข้อมูล
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
เว็บไซต์สาราณุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย

จังหวัดเพชรบุรี Changwat Phetchaburi

ความเป็นมาของจังหวัดเพชรบุรี History 

     จังหวัดเพชรบุรี
       ร่องรอยของผู้คนในอดีตในเขตจังหวัดเพชรบุรี ปรากฏหลักฐานในรูปของโบราณวัตถุ โบราณสถาน แหล่งที่อยู่อาศัยหลงเหลืออยู่ทั่วไปตั้งแต่ในช่วงที่เป็นชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์พบหลักฐาน แถบภูเขาทางตะวันตกในเขตอำเภอ ท่ายาง จวบจนสังคมพัฒนาขึ้นภายใต้วัฒนธรรมแบบทวารวดี ก็พบร่องรอยของชุมชนเหล่านี้ในหลายพื้นที่ เช่น กลุ่มผลิตรูปเคารพหนองปรง ในเขตอำเภอเขาย้อย กลุ่มบ้านหนองพระ เนินโพธิ์ใหญ่ เนินดินแดง วัดป่าแป้นในเขต อำเภอบ้านลาด กลุ่มเขากระจิว ในเขตอำเภอท่ายาง กลุ่มทุ่งเศรษฐี ในเขตอำเภอชะอำ แต่ในลุ่มแม่น้ำเพชรบุรีก็ยังไม่พบ หลักฐานของเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแบบเมืองทวารวดีที่ พบทั่วไปใน ลุ่มแม่น้ำสำคัญอื่น ๆ ในแถบภาคกลางของ ไทยแต่ก็พบหลักฐานโบราณวัตถุแบบทวารวดี คือธรรมจักรหินในบริเวณชุมชนเก่าทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรี

เพชรบุรีในวัฒนธรรมเขมรโบราณ
        เมื่อชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำเพชรบุรีได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรโบราณในช่วงเวลานี้น่าจะมีการพัฒนาขึ้นในระดับหนึ่ง คงมีการสร้างเมืองในรูปแบบของวัฒนธรรมเขมร โบราณเป็นรูปสี่เหลี่ยมขึ้นที่ทางฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเพชรบุรี (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลช่องสะแก อำเภอเมืองเพชรบุรี) ผลจากการศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศ (โดยผ่องศรี วนาสิน และทิวา ศุภจรรยา) พบว่าบริเวณเมืองเพชรบุรีมีร่องรอยของแนวคูเมืองและกำแพงเมือง ที่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม ที่ใกล้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมากกว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวของแนวคูเมืองกำแพงเมืองแต่ละด้านกว่า 1 กิโลเมตร เมืองนี้ใช้แม่น้ำเพชรบุรีเป็นคูเมืองด้านทิศตะวันตก ลักษณะของผังเมืองที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบสม่ำเสมอเป็นเมือง ที่มีอายุหลังสมัยทวารวดีมักพบมากในช่วงที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรโบราณลงมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าร่องรอยของแนวคูเมืองกำแพงเมืองที่หลงเหลืออยู่นี้ เป็นร่องรอยของเมืองตั้งแต่ในช่วงที่ได้รับ อิทธิพลวัฒนธรรมเขมร หลักฐานที่เป็นเครื่องสนับสนุนความเป็นบ้านเป็นเมืองในช่วงเวลานี้คือ โบราณสถานที่วัด กำแพงแลง อันได้แก่ปรางค์ศิลาแลง 5 องค์ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและรูปเคารพที่ได้จากบริเวณนี้ล้วนมีอิทธิพล ศิลปเขมรโบราณแบบบายน ที่มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 - 19 และถ้าหากเชื่อว่าเมืองนี้คือหนึ่งในเมืองที่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาได้ทรงประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถไว้ เมืองนี้ก็คือเมือง ศรีชัยวัชรบุรี

ชื่อเมืองและที่ตั้งของเมือง
        ชื่อของเมืองเพชรบุรีปรากฏหลักฐานแน่ชัด ในศิลาจารึกสุโขทัย 2 หลัก คือ ศิลาจารึกหลักที่ 1 และศิลาจารึกวัดเขากบ ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ตอนที่กล่าวถึงเมืองในอาณาเขตของสุโขทัยที่อยู่ทางใต้กล่าวว่า "…เบื้องหัวนอน รอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว…" จากข้อความในจารึกแสดงให้เห็นว่า เพชรบุรีมีฐานะเป็นเมืองที่น่าจะมีความสำคัญใกล้เคียงกับเมืองต่าง ๆ ที่ถูกกล่าวถึงในจารึก เช่น สุพรรณภูมิ ราชบุรี และนครศรีธรรมราช และในศิลาจารึกวัดเขากบ ที่กล่าวถึงการแสวงหาพระธาตุจนถึงเมืองอินเดียและลังกาตอนหนึ่ง กล่าวถึงเส้นทางขากลับที่ ได้เดินทางมาขึ้นบกที่ตะนาวศรี แล้วตัดข้ามมาเพชรบุรี ย้อนขึ้นไปยังราชบุรีและอโยธยาดังนี้ "…โสด ผสมสิบข้าว ข้ามมาลุตะนาวศรี เพื่อเลือกเอาฝูงคนดี …. สิงหลทีป รอดพระพุทธศรีอารยไมตรี เพชรบุรี ราชบุรีน…ส อโยธยา ศรีรามเทพนคร…" สำหรับที่ตั้งของเมืองเพชรบุรีในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่อาจกล่าวได้เนื่องจาก ไม่มีหลักฐาน แน่ชัด แต่ถ้าหากพิจารณาจากหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ในด้านศิลปสถาปัตยกรรมก็ไม่พบอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ที่เด่นชัด แต่มีข้อน่าสน ใจประการหนึ่งคือ ที่วัดมหาธาตุเมืองเพชรบุรี แม้ว่าจะไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นมาเมื่อใด และผ่านการบูรณะมาหลายครั้งหลายสมัย แต่ก็พบว่าฐานรากมีอิฐขนาดใหญ่แบบเดียวกับที่ใช้สร้าง โบราณสถานในวัฒนธรรมทวารวดี น่าเสียดายที่ไม่มีหลักฐานชัดแจ้ง รูปทรงองค์ปรางค์ที่ปรากฏอยู่ก็เป็นการบูรณะ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งอาจคงเค้าเดิมไว้คล้ายกับองค์มหาธาตุอื่น ๆ ที่ได้รับการบูรณะในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือทรงเรียวแบบฝักข้าวโพด ประกอบกับหลักฐานแวดล้อมอื่น เช่น ศาสนสถานอื่น ๆ ก็ปรากฏเป็นสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งคงได้รับ การบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อมีการบูรณะในปัจจุบัน พบโบราณวัตถุ เช่น เครื่องถ้วยจีนเป็นเครื่องเคลือบสมัยราชวงศ์สุ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีอายุในราว พุทธศตวรรษที่ 16 - 19 อาจเป็นการนำของมีค่าในยุคก่อนนำมาฝังก็เป็นได้ แต่ก็ไม่น่าจะมีอายุห่างจากโบราณวัตถุมากนัก อาจจะราวปลาย พุทธศตวรรษที่ 18 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตามก็ยังมีหลักฐานอื่นที่เก่าไปกว่า สมัยอยุธยาเป็นเครื่องสนับสนุน คือ พระพุทธรูปหินทรายแดงขนาดใหญ่ ศิลปะแบบอู่ทอง และยังมีเสมา ที่มีลวดลายซึ่ง นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า เป็นศิลปะอู่ทอง หรือศิลปะแบบก่อนอยุธยา จึงกล่าวได้ว่าวัดมหาธาตุ เมืองเพชรบุรีนี้ มีมา ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา อันเป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนาเถรวาทจากลังกาที่นครศรีธรรมราชแพร่หลายขึ้นมาผ่านเพชรบุรี ดินแดนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นไปยัง สุโขทัย แล้วเป็นศาสนาหลักของสังคมที่เป็นบ่อเกิดของ วัฒนธรรมอีก หลายด้าน โดยเฉพาะในส่วนที่เนื่อง ในศาสนาเป็นต้นว่าการสร้างศาสนสถาน เมื่อไทยรับเอาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามา         เมื่อต้นสุโขทัย ได้เกิดธรรมเนียมการมีวัดมหาธาตุเป็นวัด สำคัญ ของเมือง แต่มิได้หมายความว่าพระธาตุเจดีย์เพิ่งจะเริ่มมีในสมัยสุโขทัย เนื่องจากมีธาตุเจดีย์อีกหลายองค์ที่มีอายุเก่ากว่ายุคสุโขทัย เช่น พระบรมธาตุเมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ธรรมเนียมการสร้างธาตุเจดีย์เป็นปูชนียสถานน่าจะเข้ามาตั้งแต่ครั้งที่พระพุทธศาสนา เข้ามาใน ดินแดนที่ เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ในระยะแรก ๆ ส่วนธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นจากลัทธิลังกาวงศ์คือ การมีวัดมหาธาตุเป็นหลักของเมือง มีข้อสนับสนุนจากโบราณสถานที่ปรากฏในปัจจุบัน ในเมืองสำคัญ ๆ หลายเมือง ไม่ว่าจะเป็นเมืองสุโขทัย ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก สวรรคโลก สุพรรณบุรี ราชบุรี สวรรค์บุรี และสิงห์บุรี เป็นต้น ล้วนแต่มีวัดมหาธาตุเป็นวัดหลักของเมืองทั้งสิ้น รวมทั้งเมืองเพชรบุรีด้วย ความสัมพันธ์ของเมืองเพชรบุรี กับสุโขทัยในช่วงเวลาดังกล่าวแม้ว่าจะไม่เด่นชัด แต่จากข้อความในจารึกสุโขทัยทั้ง 2 หลักที่กล่าวข้างต้น ก็บ่งชัดว่า เพชรบุรีมีฐานะเป็นเมืองเมืองหนึ่ง ตำแหน่งที่ตั้งของมหาธาตุนี้อยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรีทางฝั่งตะวันตก ซึ่งอยู่คนละฟากกับ เมืองในสมัยที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมร ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ปราสาทวัดกำแพงแลง หากว่าวัดมหาธาตุได้สถาปนา ขึ้นในช่วงสมัยสุโขทัย บ้านเมืองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรี ก็คงมีความสำคัญอาจเป็นศูนย์กลางของเมืองในช่วง เวลาดังกล่าว ในสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏหลักฐานในกฎหมายตราสามดวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดให้ชำระขึ้นมีความตอนหนึ่งว่าสมัยพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา ตอนหนึ่งในพระราชบัญญัติหัวเมืองบัญญัติไว้ว่า "…ออกพระศรีสุริทฤาไชย เมืองเพชญบุรีย ขึ้นประแดงเสนฎขวา…" โดยมีฐานะเป็นเมืองจัตวา และในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองเพชรบุรีจัดอยู่ในหัวเมือง ฝ่ายตะวันตก โดยปรากฏหลักฐานอยู่ใน คำให้การชาวกรุงเก่า โดยเรียกว่า เมืองวิดพรี นอกจากในเอกสารของไทยแล้ว ในเอกสารของชาวตะวันตกที่เข้ามา ในสมัยกรุงศรีอยุธยายังได้บันทึกเรื่องราวของเมืองเพชรบุรี ไว้อีกหลายที่ด้วยกัน เช่น Tome Pires ชาวโปรตุเกสที่เดินทางไปยังอินเดียและมะละกา ในปี พ.ศ.2054 และได้ทำบันทึกเกี่ยวกับเมืองที่สำคัญ ที่มีบทบาททางการค้าระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตก เอาไว้ โดยกล่าวถึง เมืองเพชรบุรี (Peperim , Pepory) ว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญ เมืองหนึ่งใน เขตฝั่งตะวันออก แล้วยังเป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครองเยี่ยงกษัตริย์ และยังมีสำเภาส่งไปค้าขายยังภูมิภาคต่างๆด้วยส่วนในประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยาม ของนายฟรังซัวร์ อังรี ตุรแปง กล่าวว่า เมืองเพชรบุรี (Pipli) เป็นท่าเรือติดทะเล ค้าข้าว ผ้า และฝ้ายมาก นิโกลาส์ แชรแวส ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามา กรุงศรีอยุธยาในสมัย สมเด็จ พระนารายณ์ได้กล่าวไว้ใน ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ในบทที่ว่าด้วยเมืองบางกอกและเมืองท่าอื่น ๆ กล่าวถึง เมืองเพชรบุรีไว้ด้วยคือ "เมืองพิบพลี (Piply : เพชรบุรี)… อยู่ไกลจากปากน้ำเพียง 10 หรือ 12 ลี้ เท่านั้น เป็นเมืองเก่ามาก กล่าวกันว่าเคยเป็นเมืองที่งดงาม…" จดหมายเหตุ การเดินทางของพระสังฆราชแห่งเบริธ ที่เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2205 (สมัยสมเด็จพระนารายณ์) ได้กล่าวถึงเมืองเพชรบุรี ไว้ว่า "จากเมืองปราณบุรี เรามาถึงเมืองเพชรบุรี (Pipili) เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม โดยใช้เวลา เดินทาง 5 วัน เมืองนี้เป็นเมืองใหญ่และมีกำแพงเมืองก่ออิฐ" จาก The History of Japan together with a description of the Kingdom of Siam 1690 - 92 ของ Engellbert Kaempfer M.D. ที่เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.2233 ได้บรรยายเส้นทางการเดินทางไว้ตอนหนึ่งว่า "…ต่อจากนั้นก็ถึงจาม (Czam) ถัดขึ้นไปคือเพชรบุรี (Putprib)" ในจดหมายเหตุของมองสิเออร์เซเบเรต์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ตอนที่กล่าวถึงการเดินทางเพื่อไปลงเรือที่เมืองมะริด ในปี พ.ศ.2230 ได้บรรยายเมืองเพชรบุรีไว้ว่า "เมืองเพชรบุรีนี้เป็นเมืองขนาดใหญ่ในประเทศสยามและเดิม ๆ มาพระเจ้าแผ่นดินสยามก็เคยมาประทับอยู่ในเมืองนี้เสมอ ๆ เมืองนี้มีกำแพงก่อด้วยอิฐล้อมรอบ และมีหอรบหลายแห่ง แต่กำแพงนั้นชำรุดหักพังลงมากแล้วยังเหลือดีอยู่แถบเดียว เท่านั้น บ้านเรือนในเมืองนี้ไม่งดงามเลย เพราะเป็นเรือนปลูกด้วยไม้ไผ่ทั้งสิ้นสิ่งที่งามมีแต่วัดวารามเท่านั้น และวัดในเมือง นี้ก็มีเป็นอันมาก…" จากเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในเอกสารฝ่ายไทย เรียก เมืองเพชรบุรี ในสมัย กรุงศรีอยุธยาว่า เมืองเพชญบุรีย ส่วนที่เรียกว่า เมืองวิดพรี ในคำให้การชาวกรุงเก่านั้น เอกสารฉบับนี้ต้นฉบับ เป็นภาษาพม่า กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณขอคัดสำเนามาจากพม่า แล้วมาแปลเป็นภาษาไทยอีกทีหนึ่ง เป็นเรื่องราวพงศาวดารไทยที่พระเจ้าอังวะกษัตริย์พม่า ให้เรียบเรียงจากคำให้การของชาวไทยที่ถูกกวาดต้อนไปเมื่อ ครั้งพม่ายกมาตีกรุงศรี อยุธยา จึงเป็นไปได้ว่าชื่อวิดพรีนั้น เป็นการเรียกตามสำเนียงพม่า ส่วนในเอกสารชาว ตะวันตกที่เข้ามากรุงศรีอยุธยา ก็เรียกชื่อเมืองเพชรบุรีแตกต่างกันไปหลายแบบคือ Tome Pires ชาวโปรตุเกส (พ.ศ.2054) เรียกว่า Peperim , Pepory ในจดหมายเหตุการเดินทางของพระสังราชแห่งเบริธ (พ.ศ.2205) เรียก Pipili ในประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ของนิโกลาส์ แชรแวส เรียก Piply ส่วนใน The History of Japan together with a description of the Kingdom of Siam 1690 - 92 ของ Engellbert Kaempfer M.D.(พ.ศ.2233) เรียก Putprib เหตุที่มีการเรียกชื่อเมืองเพชรบุรีแตกต่างกันหลายแบบน่าจะเป็นการถ่ายเสียง จากภาษาไทยตามสำเนียงของแต่ละชาติแต่ละภาษา

เพชรบุรีในสมัยสุโขทัย
         อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงแม้จะมีอำนาจครอบคลุมเพชรบุรี แต่เพชรบุรีก็ยังมีอิสระอยู่มาก สามารถส่งทูตไปจีนได้ ต้นวงศ์ของกษัตริย์เพชรบุรีในช่วงสมัยสุโขทัยคือ พระพนมทะเลศิริ ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชยปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง จึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

เพชรบุรีในสมัยอยุธยาตอนต้น
          เพชรบุรีขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาในแบบศักดินาสวามิภักดิ์มีขุนนางควบคุมเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถอำนาจใน ส่วนกลางมีมากขึ้น เพชรบุรียังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นอำนาจจากส่วนกลางจึงมามีส่วนในการปกครองเพชรบุรีมากกว่าเดิม
          ในสมัยพระมหาธรรมราชา ทางเขมรได้ให้พระยาจีนจันตุยกทัพมาตีเมืองเพชรบุรี แต่ชาวเพชรบุรีป้องกันเมืองไว้ได้ ต่อมาพระยาละแวกได้ยกทัพมาเองมีกำลังประมาณ 7,000 คน เมืองเพชรบุรีจึงตกเป็นของเขมร จนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตีเขมรชนะ เพชรบุรีจึงเป็นอิสระ และเนื่องจากทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีเป็นพิเศษ จึงได้เสด็จมาประทับที่เมืองเพชรบุรีเป็นเวลาถึง 5 ปี ก่อนจะทรงยกทัพใหญ่ไปปราบพม่า และสวรรคตที่เมืองหาง
           เจ้าเมืองเพชรบุรีและชาวเมืองเพชรบุรีได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับข้าศึกหลายครั้ง นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเชษฐาธิราชและสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โดยเฉพาะในสมัยพระเทพราชานั้น การปราบปรามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่ง แข็งเมือง พระยาเพชรบุรีได้เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสบียงให้แก่กองทัพฝ่ายราชสำนักอยุธยา อย่างไรก็ดีเมืองเพชรบุรีถูกตีแตกอีกครั้ง เมื่อพม่าโดยมังมหานรธราได้ยกมาตีไทย จนไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 นั่นเอง

เพชรบุรีในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
         ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินจนถึงแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไทยยังคงทำสงครามกับพม่ามาโดยตลอดซึ่ง เจ้าเมืองและชาวเมืองเพชรบุรีก็ยังคงมีส่วนในการทำสงครามดังกล่าว จนเมื่อพม่าตกเป็นของอังกฤษบทบาทของเมืองเพชรบุรีที่มีต่อเมืองหลวงและราชสำนักจึงค่อยๆ เปลี่ยนไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ครั้ง ยังทรงผนวชอยู่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดให้สร้างพระราชวัง วัดและพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ย ๆ ใกล้กับตัวเมืองและพระราชทานนามว่า “พระนครคีรี” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรี คือ “พระรามราชนิเวศน์” หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “วังบ้านปืน” และด้วยความเชื่อที่ว่าอากาศชายทะเลและ น้ำทะเลอาจบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าให้สร้างพระราชวัง “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ขึ้นที่ชายหาดชะอำเพื่อใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์


อาณาเขต
         จังหวัดเพชรบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 6,225.138 ตารางกิโลเมตรหรือ 3,890,711.20 ไร่ โดยมีส่วนที่กว้างที่สุดวัดได้ 103 กิโลเมตรจากทิศตะวันออก-ตะวันตกและส่วนที่ยาวที่สุดวัดได้ 80 กิโลเมตรจากทิศเหนือ-ใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดและประเทศใกล้เคียงต่อไปนี้
         แผนที่แนบท้ายพระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502ด้านเหนือ ติดกับอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี และอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ด้านตะวันออก ติดชายฝั่งอ่าวไทย (น่านน้ำติดต่อตรงข้ามกับน่านน้ำจังหวัดชลบุรี ด้านทิศใต้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้านทิศเหนือ น่านน้ำจังหวัดสมุทรสงคราม น่านน้ำจังหวัดสมุทรสาคร น่านน้ำกรุงเทพมหานคร และน่านน้ำจังหวัดสมุทรปราการ)
ด้านใต้ ติดกับอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ด้านตะวันตก ติดกับเขตตะนาวศรีของสหภาพพม่า


สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด รูปทุ่งนา ต้นตาลโตนด และพระนครคีรี หรือเขาวัง
ดอกไม้ประจำจังหวัด: จังหวัดเพชรบุรีไม่มีการกำหนดดอกไม้ประจำจังหวัดอย่างเป็นทางการ แต่ได้ใช้ดอกลั่นทมเป็นสัญลักษณ์เสมือนเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดโดยตลอด
ต้นไม้ประจำจังหวัด: หว้า (Eugenia cumini)
คำขวัญประจำจังหวัด: เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม


แหล่งข้อมูล
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
เว็บไซต์สาราณุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย

10/30/2553

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ Changwat Prachuap Khiri Khan

ประวัติศาสตร์ History

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

       จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่ค่อยแน่ชัด เนื่องจากเป็นพื้นที่แคบ ยามมีศึกสงครามยากแก่การป้องกันจึงต้องปล่อยให้เป็นเมืองร้างหรือยุบเมืองเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเพชรบุรี ในอดีตเป็นเพียงเมืองชั้นจัตวาเล็ก ๆ ที่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองเพชรบุรี พอถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งเมือง เมืองบางนางรม ที่ปากคลองบางนางรม ได้รวมเมืองบางนางรม เมืองกุย และเมืองคลองวาฬ แต่สภาพที่ดินไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกจึงได้มีการย้ายเมืองไปยังเมืองกุยบุรีที่มีความอุดมสมบูรณ์และการตั้งบ้านเรือนหนาแน่นกว่า แต่ยังเรียกเมืองบางนางรมตามเดิม จวบจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ชื่อคล้องกับชื่อของจังหวัดเกาะกงที่แยกออกจากจังหวัดตราดคือ "เมืองประจันตคีรีเขต"
       รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์จึงถูกยุบรวมเป็นอำเภอหนึ่งของเมืองเพชรบุรี และต่อมาได้มีการย้ายเมืองประจวบคีรีขันธ์มาตั้งที่ตำบลเกาะหลัก ในช่วงนี้เมืองประจวบคีรีขันธ์และเมืองปราณบุรีขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรี ส่วนเมืองกำเนิดนพคุณขึ้นตรงกับเมืองชุมพร ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริสงวนชื่อเมืองปราณไว้ (เมืองเก่าที่ตั้งอยู่ที่ปากน้ำปราณบุรี) จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองประจวบคีรีขันธ์ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะหลักเป็นเมืองปราณบุรี รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อป้องกันการสับสนกับเมืองปราณ ที่ปากน้ำปราณบุรี หลังจากมีการยกเลิกระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์จึงไม่ได้ขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรีและมณฑลราชบุรีอีก
       จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถือเป็นจังหวัดของภาคกลาง แต่พื้นที่อยู่ตอนบนของภาคใต้ หรือจะเรียกว่า เป็นประตูก่อนสู่จังหวัดภาคใต้คือจังหวัดชุมพรก็คงไม่ผิด เพราะการเดินทางไปท่องเที่ยวทางภาคใต้ จังหวัดใดก็ตามตั้งแต่ชุมพรลงไป จะต้องขับรถผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ก่อน สมัยรัชกาลที่ 4 ได้รวมเมืองบางนางรม เมืองกุยบุรี เมืองคลองวาฬ เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ มีที่ว่าการอยู่ ณ เมืองกุยบุรี จน พ.ศ. 2441 จึงย้ายมาอยู่ที่อ่าวเกาะหลักหรืออ่าวประจวบฯ ซึ่งเป็นที่ตั้ง ตัวเมืองในปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีชายฝั่งทะเลยาวตลอดแนว จึงมีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลมากมายหลายแห่ง ที่ขึ้นชื่อคือ ชายทะเลหัวหินซึ่งมีชื่อเสียงมาเนิ่นนาน และเขตพื้นที่ที่แคบที่สุดของประเทศไทย อยู่ในเขตจังหวัดนี้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่บนส่วนที่แคบที่สุดของประเทศไทย 11 กิโลเมตร แต่มีชายทะเลยาวถึง 212 กิโลเมตร ซึ่งเกือบเท่ากับ จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ว่าได้ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ “ประจวบคีรีขันธ์” เคยเป็นที่ตั้งของเมืองนารัง สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ได้ร้างไปเมื่อครั้งกรุงแตก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่ปากคลองอีรม ชื่อว่าเมืองบางนางรม
ศาลหลักเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหลักเมืองชัยคู่บ้าน คู่เมือง ของชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้างขึ้นในสมัย ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราช ดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดศาลหลักเมือง เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เพื่อให้เป็นสิริมงคลและ หลักชัยคู่บ้านคู่เมือง และเป็นที่สักการะบูชาของชาวประจวบฯ สืบไป

ภูมิศาสตร์

       มีเนื้อที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,979,762.5 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดเพชรบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดชุมพร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัด เป็นรูปศาลามณฑป มีภาพเกาะอยู่เบื้องหลัง ศาลามณฑป หมายถึง พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ในถ้ำพระยานคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างไว้เมื่อ พ.ศ.2433 และเคยเสด็จไปประทับที่ถ้ำนี้ 2 ครั้ง และต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ก็เคยเสด็จไปประทับที่นี่อีก
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเกด (Manilkara hexandra)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: เกด (Manilkara hexandra)
คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ


แหล่งข้อมูล
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
เว็บไซต์สาราณุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย

จังหวัดตาก Changwat Tak

ประวัติเมืองตาก
       เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการ อพยพ ของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”
      ผู้นำกลุ่มคนไทยที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองตากในยุค นั้น ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อเนื่อง กันมาจนถึงปี พ.ศ. 560 รัชสมัยพระเจ้าสักดำ ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองตากที่ยิ่งใหญ่มาก มีอาณาเขตที่อยู่ในอำนาจแผ่ไปจนจรดทะเลอันดามันดังมีบันทึกในพงศาวดารเหนือกล่าวว่าในรัชสมัยพระเจ้าสักดำนั้นเมืองตากมีการค้าขายกับเมืองอินเดียด้วย เมืองตากคงจะเสื่อมลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิสผู้เป็นกษัตริย์เมืองตากที่อพยพมาจาก ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ได้โยกย้ายไปสร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองละโว้ทางตอนใต้ของเมืองตากลงไปอีก มีบางยุคเมืองตากถูกทอดทิ้ง กลายเป็นเมืองร้างดังในพงศาวดารเหนือได้ กล่าวถึงการเสด็จทางชลมารคของพระนางจามเทวี พระราชธิดากษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) เพื่อไปปกครองแคว้นหริภุญไชย (ลำพูน) ในราว พ.ศ. 1176 โดยทาง ลำน้ำปิง พระนางจามเทวีขึ้นไปสำรวจบนฝั่งแม่น้ำพบร่องรอยกำแพงเมืองเก่าๆ ถูกทิ้งร้าง จึงโปรดให้สร้างเป็นบ้านเมืองใหม่ชื่อว่า “เมืองตาก”
       ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 1805 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพ มาประชิดเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงจัดกองทัพออกไปรบ โดยมีพระราชโอรสองค์เล็กซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ติดตามไปด้วย กองทัพ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่บริเวณเชิงดอยนอกเมืองตากประมาณกิโลเมตรเศษ ราชโอรสองค์เล็กได้ทรงชนช้าง กับขุนสามชนกระทำยุทธหัตถีกัน ขุนสามชนสู้ไม่ได้แตกพ่ายไป ต่อมาภายหลังทรงพระนามว่า “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” และได้โปรดสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นที่ระลึกถึงชัยชนะในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้น องค์หนึ่งเป็นศิลปแบบสุโขทัย ซึ่งเจดีย์ยุทธหัตถีนี้อยู่ที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก ห่างจากตัวเมืองไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงราว 31 กิโลเมตร ต่อมาในแผ่นดินมหาธรรมราชา ได้ย้ายเมืองตากลงมาทางตอนใต้ตามลำน้ำปิง ไปตั้งอยู่ที่ป่ามะม่วง ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ในเขตตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตากในปัจจุบัน เมืองตากที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้มิใช่เมืองหน้าด่าน สำหรับป้องกันกองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพไทยใช้เป็นที่ชุมนุมพลในเวลา ที่จะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกด้วย ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้ทุกพระองค์ โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชสมบัตินั้น พระองค์ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร ให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ ไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือและต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ปลัดเมืองตากพระยาวชิรปราการแล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยลำดับ กล่าวโดยสรุป จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ ควรค่าแก่การสนใจ เป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้แล้วถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง และทรงยกทัพกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ที่เชิงสะพานกิตติขจรปัจจุบัน และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก และเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า ครั้งที่ 2

ภูมิศาสตร์       จังหวัดตาก ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง เป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่นๆ มากที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วย 9 จังหวัด และ 1 ประเทศ ดังนี้
ทางเหนือ ติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง
ทางตะวันออก ติดกับจังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี
ทางใต้ ติดกับจังหวัดกาญจนบุรี
ทางตะวันตก ติดกับรัฐกะเหรี่ยง สหภาพพม่า โดยมีแม่น้ำสายสำคัญแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า ซึ่งก็คือ แม่น้ำเมย
พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขาสูง โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านตะวันตกของจังหวัด

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด: รูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงหลั่งทักษิโณทกบนคอช้าง
       หมายถึง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกกองทัพไปช่วยพระเจ้าหงสาวดีรบอังวะนั้น พระมหาอุปราชเมืองพม่า สั่งให้ทหารคู่ใจคอยตี ขนาบ และปลงพระชนม์เสียให้ได้ ความแตกรู้ถึงพระกรรณสมเด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง จึงทรงประชุมชาวเมือง และบรรดาแม่ทัพนายกอง เมื่อเดือน 2 ปีวอก พ.ศ. 2127 ทรงหลั่งน้ำทักษิโณฑกเหนือแผ่นดิน ประกาศอิสระภาพไม่ยอมขึ้นกับเมืองอังวะ อีกต่อไป จังหวัดตากเป็นด่านแรก ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง ยกกองทัพกลับเข้ามาถึงราชอาณาจักรไทย เช่นเดียวกับที่เมืองนี้เคยเป็นทางผ่าน ที่ชาวอินเดียเดินทางเข้าเมืองไทยในสมัยโบราณ
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเสี้ยวดอกขาว (Bauhinia sp.)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: แดง (Xylia kerrii)
คำขวัญประจำจังหวัด: ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม


                                                                        จังหวัดตาก

แหล่งข้อมูล
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
เว็บไซต์สาราณุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย

จังหวัดกาญจนบุรี Changwat Kanchanaburi

ประวัติจังหวัดกาญจนบุรี History
      เมืองกาญจนบุรี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาทุกยุคสมัย สามารถแบ่งออกเป็นยุคสมัยตามหลักฐานที่พบ ได้ดังนี้

สมัยก่อนประวัติศาสตร์
       เริ่มตั้งแต่สมัยเริ่มกำเนิดมีมนุษย์ขึ้นในโลก จากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ สิงสาราสัตว์มากมาย เหมาะที่จะเป็นที่ตั้งอาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานทางด้านโบราณคดีมากมายได้แก่ เครื่อมือหินกะเทาะ เครื่องมือสมัยหินใหม่ เครื่องมือสมัยโลหะ โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ ภาพเขียนสีที่ผนังถ้ำ โลงศพ ฯลฯ ตามถ้ำเพิงผา และตามลำน้ำแควน้อยแควใหญ่ ตลอดไปจนลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

สมัยทวาราวดี
       เมื่ออินเดียได้เดินทางเข้ามาค้าขาย และเผยแพร่พุทธศาสนายังแคว้นสุวรรณภูมิ ในราวพุทธศตวรรษที่ 11 - 16 พบหลักฐานศิลปะอินเดียสมัยคุปตะในสมัยทวาราวดี ตามลำน้ำแควน้อย แควใหญ่ และแม่กลอง ที่บ้านวังปะโท่ บ้านท่าหวี บ้านวังตะเคียน และพงตึก โบราณวัตถุสถานที่พล เช่น ซากเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป พระพิมพ์ เสมาธรรมจักร ระฆังหิน เครื่องประดับ ภาชนะดินเผา และพบตะเกียงโรมันสำริดที่มีอายุราว พศ.600 นับเป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดของไทย

สมัยอิทธิพลขอม
       จากหลักฐานทางเอกสารที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเมืองกาญจนบุรี คือ พงศาวดารเหนือ กล่าวว่า "กาญจนบุรีเป็นเมืองพญากง พระราชทานบิดาของพระยาพาน เป็นเมืองสำคัญของแคว้นอู่ทอง หรือสุวรรณภูมิ มีผู้สันนิษฐานว่าพญากงสร้างขึ้นราว พ.ศ.1350" ต่อมาขอมได้แผ่อิทธิพลนำเอาศาสนาพุทธมหายานเข้ามาประดิษฐานในเมืองกาญจนบุรี ปรากฏหลักฐานคือปราสาทเมืองสิงห์ เมืองครุฑ เมืองกลอนโด จนอำนาจอิทธิพลขอมเสื่อมลงไป

สมัยอยุธยาเป็นราชธานี

       ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองกาญจนบุรีปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ต้องกลายมาเป็นเมืองหน้าด่าน เพราะตั้งอยู่ติดกับประเทศคู่สงครามคือพม่า กาญจนบุรีจึงเป็นเส้นทางเดินทัพและสมรภูมิ ด้วยเหตุว่ามีช่องทางเดินติดต่อกับพม่า คือ ด่านพระเจดีย์สามองค์ และด่านบ้องตี้ จึงนับว่ามีความสำคัญที่สุดเมืองหนึ่งในทางยุทธศาสตร์ ยังปรากฏชื่อสถานที่ในพงศาวดารหลายแห่งเช่น ด่านพระเจดีย์สามองค์ สามสบ ท่าดินแดง พุตะไคร้ เมืองด่านต่าง ๆ
เมืองกาญจนบุรีตั้งอยู่ในช่องเขาริมลำน้ำแควใหญ่มีลำตะเพินอยู่ทางด้านทิศเหนือ ด้านหลังติดเขาชนไก่ ห่างจากที่ตั้งปัจจุบันไปประมาณ 14 กิโลเมตร ชาวบ้านเรียกกันว่าเมืองกาญจนบุรีเก่ามีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 170x355 เมตร มีป้อมมุมเมืองก่อด้วยดินและหินทับถมกัน ลักษณะของการตั้งเมืองเหมาะแก่ยุทธศาสตร์ในสมัยนั้นอย่างยิ่ง ด้วยเป็นซอกเขาที่สกัดกั้นพม่าที่ยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ มุ่งจะไปตีเมืองสุพรรณบุรีและอยุธยาจำเป็นต้องตีเมืองกาญจนบุรีให้ได้เสียก่อน หากหลีกเลี่ยงไปอาจจะถูกกองทัพที่เมืองกาญจนบุรีตีกระหนาบหลัง ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมือง ป้องปราการ พระปรางค์ เจดีย์ และวัดร้างถึง 7 วัดด้วยกัน สมัยอยุธยานี้ไทยต้องทำสงครามกับพม่าถึง 24 ครั้ง กาญจนบุรีเป็นสมรภูมิหลายครั้ง และเป็นทางผ่านไปตีอยุธยาจนต้องเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 และต้องย้ายราชธานีใหม่

สมัยธนบุรีเป็นราชธานี

       กรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่จากการกู้เอกราชโดยพระเจ้ากรุงธนบุรี ในสมัยนี้เกิดสงครามกับพม่าถึง 10 ครั้ง กาญจนบุรีเป็นสมรภูมิอีกหลายครั้ง เช่น สงครามที่บางกุ้ง และที่บางแก้ว ซึ่งมีสมรภูมิรบกันที่บริเวณบ้านหนองขาว

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี

       เมื่อไทยย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงเทพฯ เพียง 3 ปี ก็เกิดสงครามใหญ่คือ สงคราม 9 ทัพ แต่ไทยสามารถยันกองทัพพม่าแตกพ่ายไปได้ ณ สมรภูมิรบเหนือทุ่งลาดหญ้าในปีต่อมาก็ต้องทำสงครามที่สามสบและท่าดินแดงอีก และไทยตีเมืองทวาย จากนั้นจะเป็นการรบกันเล็กน้อยและมีแต่เพียงข่าวศึก เพราะพม่าต้องไปรบกับอังกฤษ
       ในที่สุดก็ตกเป็นเมืองขึ้น และเลิกรบกับไทยตลอดไป ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยุทธศาสตร์การรบเปลี่ยนไป โดยเหตุที่พม่าต้องนำทัพลงมาทางใต้เพื่อเข้าตี
กรุงรัตนโกสินทร์ จำเป็นต้องมีทัพเรือล่องลงมาจากสังขละบุรี มาตามลำน้ำแควน้อยผ่านอำภอไทรโยคมายังปากแพรก ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำทั้งสอง ด้วยเหตุนี้หลังจากสิ้นสงคราม 9 ทัพแล้ว จึงได้เลื่อนที่ตั้งฐานทัพจากเมืองกาญจนบุรี ที่ลาดหญ้า มาตั้งที่ตำบลปากแพรก ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำทั้ง 2 สาย กลายเป็นแม่น้ำแม่กลอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงอธิบายว่า "ที่จริงภูมิฐานเมืองปากแพรกดีกว่าเขาชนไก่ เพราะตั้งอยู่ในที่รวมของแม่น้ำทั้ง 2 สาย พื้นแผ่นดินที่ตั้งเมืองก็สูงแลเห็นแม่น้ำน้อยได้ไกล ป้อมกลางย่านตั้งอยู่กลางลำน้ำทีเดียว แต่เมืองกาญจนบุรีที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้เดิมปักเสาระเนียดแล้วถมดินเป็นเชิงเทินเท่านั้น"
       ในสมัยรัชกาลที่ 2 กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้เสด็จออกมาขัดตาทัพ กำแพงเมืองก็คงเป็นระเนียดไม้อยู่ ต่อมาจนถึง พ.ศ.2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นถาวร ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จพระพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่
กว้าง 5 เส้น ยาว 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรวเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็ฯชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน

การปกครองของเมืองกาญจนบุรี

       ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประกอบด้วยเมืองด่าน 8 เมือง อยู่ในแควน้อย 6 เมือง แควใหญ่ 2 เมือง ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ เพราะได้ตั้งให้พวกมอญอาสา มอญเชลย และกะเหรี่ยง เป็นเจ้าเมืองปกครองกันเอง เพื่อให้มีเกียรติศัพท์ดังออกไปเมืองพม่าว่ามีหัวเมืองแน่นหนาหลายชั้น และมีหน้าที่คอยตระเวณด่านฟังข่าวคราวข้าศึกติดต่อกันโดยตลอด เมื่อสงครามว่างเว้นลงแล้ว เจ้าเมืองกรมการเหล่านี้ก็มีหน้าที่ส่งส่วย ทองคำ ดีบุก และสิ่งอื่นๆ แก่รัฐบาลโดยเหตุที่ในสมัยนั้นมิได้จัดเก็บภาษีอากรจากพวกเหล่านี้แต่อย่างใด
เมืองด่าน 7 เมือง(รามัญ 7 เมือง) ประกอบด้วยเมืองในสุ่มแม่น้ำแควน้อย 6 เมือง และแควใหญ่ 1 เมือง คือ

เมืองสิงห์
เมื่องลุ่มสุ่ม
เมืองท่าตะกั่ว
เมืองไทรโยค
เมืองท่าขนุน
เมืองทอผาภูมิ
เมืองท่ากระดาน


เมืองต่างๆ เหล่านี้ผู้สำเร็จราชการเมืองยังไม่มีพระนาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นภาษาสันสกฤตแก่ผู้สำเร็จเมือง ดังนี้
เมืองสิงห์ เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ ปัจจุบันเป็นต้นสกุล สิงคิบุรินทร์ ธำรงโชติ
เมืองลุ่มสุ่ม เป็น พระนินภูมิบดี ปัจจุบันเป็นต้นสุกล นินบดี จ่าเมือง หลวงบรรเทา
เมืองท่าตะกั่ว เป็นพระชินติฐบดี ปัจจุบันเป็นต้นสกุล ท่าตะกั่ว ชินอักษร ชินหงสา
เมืองไทรโยค เป็น พระนิโครธาภิโยค ปัจจุบันเป็นต้นสกุล นิโครธา
เมืองท่าขนุน เป็นพระปนัสติฐบดี ปัจจุบันเป็นต้นสกุล หลักคงคา
เมืองทองผาภูมิ เป็น พระเสลภูมิบดี เป็นต้นสกุลเสลานนท์ เสลาคุณ
เมืองท่ากระดาน เป็นพระผลกติฐบดี เป็นต้นสกุล พลบดี ตุลานนท์

      ครั้นเมื่อมีการปกครองตามระเบียบสมัยใหม่ ร.ศ.114 เมืองด่านเหล่านี้ถูกยุบลงเป็นหมู่บ้าน ตำบล กิ่งอำเภอ เป็นอำเภอบ้างตามความสำคัญของสถานที่ ดังนี้
เมืองทองผาภูมิ (เดิมเรียกว่าท้องผาภูมิ) ยุบลงเป็นหมูาบ้านอยู้ในเขตกิ่งอำเภอสังขละบุรี(ต่อมาเป็นอำเภอสังขละบุรี) ปัจจุบันเป็นอำเภอทองผาภูมิ
เมืองท่าขนุน(สังขละบุรี) ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอสังขละบุรี ขึ้นต่ออำเภอวังกะ ซึ่งตั้งใหม่อยู่ห่างจากท่าขนุนขึ้นไป ตั้งที่ว่าการริมน้ำสามสบ ต่อมาอำเภอวังกะและกิ่งอำเภอสังขละบุรีได้ถูกเปลี่ยนฐานสลับกันหลายครั้ง และต่อมากิ่งอำเภอสังขละบุรีตั้งอยู่ที่ตำบลวังกะ เดิมขึ้นต่ออำเภอทองผาภูมิและเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสังขละบุรี ส่วนกิ่งอำเภอสังขละบุรีเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลท่าขนุน เปลี่ยนเป็นอำเภอทองผาภูมิ
ตั้งแต่ พ.ศ.2492 เป็นต้นมา
เมืองไทรโยค ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอวังกะ ใน พ.ศ.2492 ต่อมาได้โอนขึ้นกับ
อำเภอเมืองกาญจนบุรี ได้ย้ายที่ทำการหลายครั้ง ปัจจุบันนี้ตั้งที่ทำการอยู่ที่
ตำบลวังโพธิ์ และได้ยกขึ้นเป็นอำเภอไทรโยค เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2506
เมืองท่าตะกั่ว ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค
เมืองลุ่มสุ่ม ยุบลงเป็นหมู่บ้านในตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค
เมืองสิงห์ ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด สัญญลักษณ์เจดีย์สามองค์ทรงป้าน เป็นศิลปแบบมอญ สูงประมาณ 6 เมตร ช่องห่างระหว่าเจดีย์ 5-6 เมตรเส้นทางสายนี้ในอดีตใช้เป็นทางเดินทัพที่สำคัญและใกล้ที่สุดของประเทศคู่ศึก ไทยกับพม่า หากจะนับแล้วไม่ต่ำกว่า 15 ครั้ง ที่มีการยกทัพผ่านเส้นทางประวัติศาสตร์สายนี้ จากความสำคัญดังกล่าวจึงได้ใช้รูปเจดีย์สามองค์เป็นตราประจำจังหวัดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจสำหรับชนรุ่นหลัง ให้รำลึกถึงวีรกรรมอันห้าวหาญของบรรพชนที่ยอมเสียสละแม้กระทั่งชีวิตในอันที่จะพิทักษ์ผืนแผ่นดินไว้


ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรีต้นขานาง
       มีชื่อพื้นเมืองเรียกว่าคะนางละนางค่านางช้างเผือกหลวงเชพลูเปือย
นางเปือยคะนางลิงง้อฯลฯเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูง 15- 20เมตร
ลำต้นตรงเปลือกสีเทาขาวนวลยอดเป็นดุ่มทึบกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลนุ่ม
ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ กว้างประมาณ 5- 13 เซนติเมตร
ยาว 10- 20เซนติเมตรในปี พ.ศ. 2537กรมป่าไม้เสนอชื่อต้นขานาง
เป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี เพราะพบมากในป่าแถบ อ.ไทรโยค
อ.ทองผาภูมิ อ.ศรีสวัสดิ์ อ.สังขละบุรี ในโอกาสที่รัฐบาลได้จัดงานรณรงค์
โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ
ทรงครบรอบปีที่50ในการครองราชสมบัติได้กราบบังคมทูล
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเป็นองค์ประธานและพระราชทาน
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด

ดอกกาญจนิกา       เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี มีชื่อพื้นเมืองว่า ลั่นทมเขา แคเขา หรือสะเดาดง เป็นสกุลพันธุ์ไม้พื้นเมืองของไทย มีเขตการกระจายพันธุ์จำกัดอยู่เฉพาะบนเขาหินปูนในประเทศไทยเท่านั้น เป็นไม้ขนาดเล็ก - กลาง สูง 5-15 เมตร แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ยาว 17-35 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 20-35เซนติเมตรแต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก กลีบนอกติดกันเป็นหลอดสั้นๆ กลีบดอกขนาดใหญ่ติดกันกล้ายรูปแตร ยาว 4-6เซนติเมตรสีม่วงอ่อน สีจะซีดเมื่อดอกใกล้ร่วง

คำขวัญประจำจังหวัด: แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก

                                                                   จังหวัดกาญจนบุรี

แหล่งข้อมูล
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
เว็บไซต์สาราณุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) Northeast

มี 19 จังหวัด
1.จังหวัดกาฬสินธุ์ Changwat Kalasin
2.จังหวัดขอนแก่น Changwat Khon Kaen
3.จังหวัดชัยภูมิ Changwat Chaiyaphum
4.จังหวัดนครพนม Changwat Nakhon Phanom
5.จังหวัดนครราชสีมา Changwat Nakhon Ratchasima
6.จังหวัดบึงกาฬ (รอการจัดตั้งอย่างเป็นทางการตามพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2553)
7.จังหวัดบุรีรัมย์ Changwat Buri Ram
8.จังหวัดมหาสารคาม Changwat Maha Sarakham
9.จังหวัดมุกดาหาร Changwat Mukdahan
10.จังหวัดยโสธร Changwat Yasothon
11.จังหวัดร้อยเอ็ด Changwat Roi Et
12.จังหวัดเลย Changwat Loei
13.จังหวัดสกลนคร Changwat Sakon Nakhon
14.จังหวัดสุรินทร์ Changwat Surin
15.จังหวัดศรีสะเกษ Changwat Si Sa Ket
16.จังหวัดหนองคาย Changwat Nong Khai
17.จังหวัดหนองบัวลำภู Changwat Nong Bua Lam Phu
18.จังหวัดอุดรธานี Changwat Udon Thani
19.จังหวัดอุบลราชธานี Changwat Ubon Ratchathani
20.จังหวัดอำนาจเจริญ Changwat Amnat Charoen

ภาคเหนือ North

มี 9 จังหวัด
1.จังหวัดเชียงราย Changwat Chiang Rai
2.จังหวัดเชียงใหม่ Changwat Chiang Mai
3.จังหวัดน่าน Changwat Nan
4.จังหวัดพะเยา Changwat Phayao
5.จังหวัดแพร่ Changwat Phrae
6.จังหวัดแม่ฮ่องสอน Changwat Mae Hong Son
7.จังหวัดลำปาง Changwat Lampang
8.จังหวัดลำพูน Changwat Lamphun
9.จังหวัดอุตรดิตถ์ Changwat Uttaradit

จังหวัดระยอง Changwat Rayong

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดระยอง History
      ระยอง เริ่มปรากฎชื่อในพงศาวดารเมื่อปี พ.ศ.2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีประวัติดั้งเดิมตามข้อสันนิษฐานว่า น่าจะก่อตั้งเมืองขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1500 ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่พบ คือ ซากศิลาแลงคูค่าย ที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม โดยในสมัยโบราณ ระยองมีชนพื้นเมืองคือชาวซอง ซึ่งเป็นเผ่าที่อาศัยอยู่กระจายโดยทั่วไปในภาคตะวันออก ในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองระยองในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2
       ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ในเดือนยี่ปี พ.ศ.2309 พระยาวชิรปราการ หรือ พระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ 500 คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า มุ่งสู่ตะวันออกมาหยุดพักไพร่พลที่เมืองระยอง และได้ปราบปรามคณะกรรมการเมืองที่แข็งข้อยึดเมืองระยองได้ จากความสามารถครั้งนั้น เหล่าทหารจึงยกย่องให้เป็น "เจ้าตากสิน" ก่อนเดินทัพไปยังเมืองจันทบุรี เพื่อยึดที่ดินในการกอบกู้อิสรภาพคืนจากพม่าได้ในปี พ.ศ.2113
อาณาเขตติดต่อ
     ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ่อทอง อำเภอหนองใหญ่ และอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย โดยมีชายฝั่งยาวมากกว่า 100 กิโลเมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางละมุงและอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด: ต้นมะพร้าว เกาะเสม็ด และพลับพลาที่ประทับในรัชกาลที่ 5 บนเกาะเสม็ด
ต้นไม้ประจำจังหวัด: กระทิง (Calophyllum inophyllum)
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ประดู่
คำขวัญประจำจังหวัด: ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก
ผลไม้รสล้ำ     ระยอง ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่หลากหลายไปด้วยผลไม้นานาชนิด อาทิเช่น ทุเรียน เงาะ สับปะรดมังคุด มะม่วง กล้วย ลองกอง และบางชนิดได้ชื่อว่ามีรสชาดดีหรืออร่อยที่สุดในโลก ซึ่งได้แก่ ทุเรียน สับปะรดผลไม้ 5 ลำดับแรก ที่ทำรายได้สูงสุดให้จังหวัดระยอง ได้แก่ 1. ทุเรียน 2. สับปะรด 3. มะม่วง 4. เงาะ 5. มังคุด
     จังหวัดระยองได้จัดงาน "เทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง" เป็นประจำทุกปีในช่วงฤดูผลไม้ออกผลประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี เพื่อเป็นการส่งเสริมการจำหน่ายผลผลิตด้านผลไม้และส่งเสริมการท่องเที่ยวระยะเวลาที่จัดประมาณ 10 วัน มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การประกวดขบวนรถผลไม้ การประกวดธิดาชาวสวนการประกวดผลไม้ การแข่งขันรับประทานผลไม้ เนื่องจาก ผลไม้ของจังหวัดระยองมีรสชาด เป็นที่นิยมชมชอบรับประทานของชาวต่างประเทศ ดังนั้น ทาง กรอ.จังหวัดระยอง ร่วมกับหอการค้าจังหวัดระยอง ได้ผลักดันให้มีการส่งผลไม้ไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งอันได้แก่การส่งสับปะรดไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง และยังได้ขอให้รัฐบาลผลักดันให้มีการ เปิดตลาดทุเรียนในประเทศจีน เนื่องจากชาวจีนนิยมรับประทานทุเรียนมาก และจีนมีประชากรนับ พันล้านคน หากเปิดตลาดจีนได้สำเร็จ ต่อไปจีนจะเป็นลูกค้าที่สำคัญรายใหญ่ของประเทศไทย นอกจากนี้ กรอ.จังหวัดระยองยังผลักดันให้มีการส่งทุเรียน ไปจำหน่ายที่ประเทศฮ่องกง โดยใช้สะนามบินอู่ตะเภา แทนสนามบินดอนเมือง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม ได้จัดเที่ยวบินมาขนส่งผลไม้จากสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเริ่มดำเนินการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 ในช่วงฤดูผลไม้ที่ผ่านมา และปีนี้เป็นปีที่ 4 โดยคาดว่าต่อไปสนามบินอู่ตะเภาจะได้รับการพัฒนาให้เป็นสนามบินพาณิชย์โดย สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง เพื่อเป็นการส่งเสริมผลไม้ไทย บริษัท สุภัทราแลนด์ จำกัด ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สถานฑูตไทย ประจำประเทศสิงคโปร์ สถานฑูตไทยประจำประเทศมาเลเซียและจังหวัดระยอง ได้จัดงาน "ส่งเสริมผลไม้และอาหารไทย" ณ สถานฑูตไทยในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย สินค้าที่นำไปจำหน่ายมี ทุเรียน เงาะ มะม่วง สับปะรด ส้มโอ มะละกอ ฝรั่ง ทุเรียนกวน สับปะรดกวน ผลไม้และน้ำผลไม้กระป๋อง และอาหารทะเลแห้ง ซึ่งการจัดงานดังกล่าวได้ดำเนินการมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงด้าน "ผลไม้รสล้ำ" ให้แก่จังหวัดระยองเป็นอย่างยิ่ง และสร้างรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ระยอง เพราะแท้จริงแล้วสิงคโปร์นั้นคือตลาดโลก จึงทำให้ผลไม้ของจังหวัดระยองเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก
อุตสาหกรรมก้าวหน้า
     โครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
 เป็นโครงการนำร่องภายใต้แผน Eastern Seaboard ที่รัฐบาลได้เตรียมโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานไว้อย่างพร้อมเพรียง ได้แก่ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนน แหล่งน้ำ ท่าเทียบเรือ จากสถิติการได้รับการส่งเสริมการลงทุนภาคอุตสาหกรรม จาก BOI ที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์ว่าจังหวัดระยองมีการขอรับ และได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ และมีแนวโน้มการได้รับการส่งเสริมการลงทุนให้มีการผลักดันความเจริญและการจ้างงานในภูมิภาค ของรัฐบาล จังหวัดระยองจึงมีความเจริญก้าวหน้า ด้านการลงทุนอุตสาหกรรม สามารถเป็นแหล่งรองรับการลงทุน ด้านอุตสาหกรรมผลิตปัจจัย 4 ได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นผลิต เพื่อทดแทนการนำเข้าหรือเพื่อส่งออกตามเป้าหมายของรัฐบาลได้อย่างแน่นอน
น้ำปลารสเด็ด
      ที่สุดของน้ำปลาอยู่ที่จังหวัดระยอง  กล่าวคือ  มีโรรงานน้ำปลามากที่สุดในประเทศ  โดยมีถึง  26  โรงงาน  จากทั้งหมด  35  โรงงานทั่วประเทศ  เงินลงทุน  52.88  ล้านบาท  มีคนงานประมาณ  200  คน  นอกจากนั้น  ยังมีการผลิตน้ำปลาแบบ อุตสาหกรรมในครัวเรือนกระจายกันอยู่ทั่วไป  ที่สำคัญน้ำปลาที่ผลิตยังมีรสชาติ แห่งความอร่อยเป็นรสสมกับคำขวัญว่า  " น้ำปลารสเด็ด "  อย่างแท้จริง
 ที่กล่าวว่าระยองเป็นเมืองน้ำปลารสเด็ดนั้น  แท้จริงแล้วยังมีความหมายครอบคลุม ไปถึงการประมงทั้งหมด  โดยที่จังหวัดระยองมีชายฝั่งทะเลยาวกว่า  100  กิโลเมตร อาชีพดั้งเดิมของชาวระยอง คือการทำประมง  ปัจจุบันมีเรือประมง  1,230  ลำ มีเนื้อที่ทำการประมงในทะเล ประมาณ  6,225,000  ไร่  มีครัวเรือนที่ทำการประมง จำนวน  7,275  ครัวเรือน  จำนวนชาวประมง  41,569  คน  มีมูลค่าการผลิตจากการประมงในปีที่ผ่านมาเท่ากับ  3,535.73  ล้านบาท 
นอกจากนั้น  ยังมีการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง เช่น การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ  การเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย หรือการเลี้ยงปลาในกระชัง  และการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
เกาะเสม็ดสวยหรู
     เกาะเสม็ด หรือ เกาะแก้วพิสดาร เพชรเม็ดงามของจังหวัดระยอง ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ตำบลเพ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง รวมพื้นที่ประมาณ 4.5 ไร่ ห่างจากฝั่งบ้านเพ ประมาณ 6.5 กิโลเมตร เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มีหาดทรายสวยงามตามธรรมชาติ มีป่าไม้ และภูเขา ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นแบบผสมผสานกลมกลืน บรรยากาศสงบเงียบ เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจและท่องเที่ยวเกาะเสม็ดนั้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และส่วนที่ราษฎรอาศัยอยู่เดิม มีสถานที่พักบริการ เช่น บังกาโล รีสอร์ท อยู่เรียงรายริมชายหาด มีสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคในระดับดี ได้แก่ ท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด ถนนและทางเดินเท้าคอนกรีตเสริมเหล็ก สระน้ำจืด(สระอโนดาษ) และไฟฟ้า ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะทำการติดตั้งโรงจักรไฟฟ้าบนเกาะเสม็ด ในปี 2539 โดยมีแผนงานวางเคเบิ้ลใต้น้ำในโอกาสต่อไป
สุนทรภู่กวีเอก
 สุนทรภู่ เป็นรัตนกวีสี่แผ่นดิน ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 ได้สร้างผลงานไว้มากมาย สร้างความรุ่งเรืองให้แก่ วรรณกรรมของไทย ต่อมาองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศยกย่องสุนทรภู่ ให้เป็นกวีเอกของโลกสุนทรภู่มีบิดาเป็นชาวกร่ำ เมืองแกลง ซึงในปัจจุบันคือตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จึงถือได้ว่าสุนทรภู่ เป็นชาวระยอง เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุยายน 2329 ณ บริเวณฝั่งธนบุรี ใกล้กับพระราชวังหลัง ในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังสร้างกรุงเทพฯ แล้ว 4 ปี สำหรับมารดานั้นยังไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นชาวเมือง ใด "นิราศเมืองแกลง" เป็นนิราศเรื่องแรกที่สุนทรภู่แต่งขึ้นในคราวที่เดินทางไปหาบิดา ที่เมืองแกลง ปี พ.ศ.2349 ซึ่งบิดาได้บวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดบ้านกร่ำ เมื่อคราวตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์พระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จกรมพระราชวังหลัง (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์)ไปพระพุทธบาทสุนทรภู่ได้แต่ง "นิราศพระบาท" ขึ้นในปี พ.ศ.2350 ขณะอายุได้ 21 ปี
        สุนทรภู่ได้แต่งงานกับ "จัน" มีลูกชาย 1 คนชื่อ "หนูพัด" แต่อยู่กันได้ไม่นานต้องเลิกลากันไป เพราะสุนทรภู่เป็นสิงห์ขี้เมา ต่อมาได้ภรรยาอีกคนเป็นชาวสวนบางกรวยชื่อ "นิ่ม" มีลูกชายด้วยกัน 1 คน ชื่อ "ตาบ" แต่นิ่มได้ป่วยและเสียชีวิตเมื่อลูกยังเล็ก ๆ กลอนนิทานเรื่องแรกที่สุนทรภู่แต่งคือเรื่อง "โคบุตร" ความยาว 28 เล่มสมุดไทย แต่งถวายพระองค์เจ้าปฐมวงค์ ซึ่งได้รับความนิยมมาก
ครั้นปี พ.ศ. 2358 สุนทรภู่ได้แต่งนิทานคำกลอนขึ้นอีกเรื่องหนึ่งคือ "พระอภัยมณี"ความยาวประมาณ 94 เล่มสมุดไทยซึ่งคณะละครของนายบุญยังนำไปแสดงทำให้ชื่อเสียงของสุนทรภู่เลื่องลือ ไปทั่วกรุงเทพฯ และหัวเมืองใกล้เคียงสุนทรภู่มีชีวิตรุ่งเรืองมากในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่ 2) ซึ่งทรงโปรดปรานบทกวีมาก ครั้งหนึ่งสุนทรภู่ได้แต่งต่อ
บทกวีนิพนธ์เรื่อง "รามเกียรติ์" ตอนนางสีดาผูกคอตาย   ปรากฎว่าเป็นที่พอพระทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นอย่างยิ่ง และทรงโปรดแต่งตั้งให้เป็นขุนสมุทรโวหาร เป็นกวีที่ปรึกษา ต่อมาสุนทรภู่ได้แต่งสุภาษิตคำกลอนเรื่อง "สวัสดิรักษา" มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย ใน พ.ศ.2367 ถวายพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอาภรณ์ พระโอรสในรัชกาลที่ 2 ครั้นสมัยรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ได้ถูกทอดออกจากตำแหน่งขุนสุนทรโวหาร สุนทรภู่จึงออกบวช ในปี พ.ศ.2367 ณ วัดระฆังโฆสิตาราม แต่มาจำพรรษา ณ วัดราชบูรณะ(วัดเลียบ) ในขณะที่บวชได้แต่ง "นิราศภูเขาทอง" สำหรับนิทานคำกลอนที่สุนทรภู่แต่งค้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ 2 นั้น ได้นำออกมาแต่งต่อ ได้แก่ เรื่อง "สิงหไกรภพ" และเรื่อง "ลักษณวงศ์" เป็นต้น
        ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 4) สุนทรภู่ได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้งมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" รับราชการอยู่เพียง 4 ปีเศษ ก็ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2398 อายุ 69 ปี
        จังหวัดระยอง ได้จัดสร้างอนุเสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ ตำบลกร่ำ อำเภอเมืองแกลง จังหวัดระยองและได้จัดงาน "วันสุนทรภู่" ขึ้นเป็นประจำทุกวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เพื่อรำลึกถึงท่านสุนทรภู่กวีเอกของโลก


                                                                       จังหวัดระยอง

แหล่งข้อมูลเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
เว็บไซต์สาราณุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย

จังหวัดฉะเชิงเทรา Changwat Chachoengsao

ประวัติความเป็นมา  History
       จังหวัดฉะเชิงเทราหรือที่นิยมเรียกกันว่า "แปดริ้ว" เคยเป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมมาก่อนในสมัยอิทธิพลของ อาณาจักรลพบุรี (ขอม) เมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เป็นไปได้ว่าชาวเมืองสมัยโบราณอาจจะเรียกชื่อแม่น้ำบางปะกงว่า คลองลึกหรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็นแต่ด้วยอิทธิพลเขมรจึงได้เรียกชื่อแม่น้ำ เป็นภาษาเขมรว่า "สตึงเตรง หรือ ฉทรึงเทรา" ซึ่งแปลว่า คลองลึก นั่นเอง ครั้นเรียกกันไปนาน ๆ เสียงเลยเพี้ยนกลายเป็น "ฉะเชิงเทรา" แต่ก็มีความเห็นอื่นที่แตกต่างออกไปว่าชื่อ "ฉะเชิงเทรา" น่าจะเพี้ยนมาจาก "แสงเชรา" หรือ "แซงเซา" หรือ "แสงเซา" อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จพระบรมราชาธิราช เสด็จไปตีได้ตามที่พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวไว้
      มากกว่าส่วนความเป็นมาของชื่อ "แปดริ้ว" ก็มีเล่าขานกันมาหลายกระแส บ้างก็ว่าที่ได้ชื่อว่าเมืองแปดริ้ว ก็เพราะขนาดอันใหญ่โตของปลาช่อนที่ชุกชุมเมื่อนำมาแล่ จะต้องแล่ถึงแปดริ้ว หรือไม่ก็ว่ามาจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง "พระรถเมรี" เล่าว่ายักษ์ฆ่านางสิบสองแล้วชำแหละศพออกเป็นชิ้น ๆ รวมแปดริ้ว ทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาดสำหรับข้อสันนิษฐานการตั้งเมืองฉะเชิงเทรา ปรากฏครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในฐานะหัวเมืองชั้นในหรือเมืองจัตวา  ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) แต่สำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปรากฏชัดเจนในสมัยพระนเรศวรมหาราชที่ใช้ เมืองฉะเชิงเทราเป็นที่รวบรวมไพร่พล  เมื่อ พ.ศ.๒๑๓๖ ด้วยชัยภูมิของเมืองที่เหมาะแก่การทำสงครามกองโจร ทำให้ฉะเชิงเทราเป็นเมืองหน้าด่านที่ใช้ป้องกันศัตรู ปกป้องเมืองหลวง จวบจนสู่การปกครองระบบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.๒๔๗๕ และในปี พ.ศ.๒๔๗๖ มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาค คำว่าเมืองเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ครองเมือง หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งเป็นปีที่มีการตั้งภาคครั้งสุดท้ายของไทย ฉะเชิงเทราได้รับเลือกเป็นสถานที่ภาคมีเขตความรับผิดชอบ ๘ จังหวัด  ซึ่งนับเป็นบทบาทที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การปกครองของจังหวัดฉะเชิงเทรา “ฉะเชิงเทรา” กับ “แปดริ้ว”
       “ฉะเชิงเทรา” กับ “แปดริ้ว” คือสองชื่อที่เรียกขานเมืองนี้ “ฉะเชิงเทรา” เป็นชื่อที่ใช้ในทางราชการ ส่วน “แปดริ้ว” เป็นภาษาท้องถิ่นที่ชาวบ้านใช้เรียกกันมาช้านาน ซึ่งทั้งสองชื่อต่างก็มีเรื่องเล่าขานถึงความเป็นมาอย่างหลากหลายและมีสีสัน
ชื่อ “ฉะเชิงเทรา” มีต้นเค้านึ่งมาจากหนังสือชุมนุมพระนิพนธ์ภาคปกิณกะ ภาค 1 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีความพาดพิงถึงเมืองฉะเชิงเทราว่า “...ชื่อบ้านเมืองเหล่านี้เป็นชื่อไทยบ้าง ชื่อเขมรบ้าง เป็นสองชื่อทั้งไทยทั้งเขมรบ้าง อย่างเมืองฉะเชิงเทราเป็นชื่อเขมร แปดริ้วเป็นชื่อไทย...” นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่านจึงมีความเห็นว่า “ฉะเชิงเทรา” น่าจะเพี้ยนมาจากคำเขมรว่า “สตึงเตรง” หรือ “ฉ่ทรึงเทรา” ซึ่งแปลว่า “คลองลึก” ความเห็นนี้คงอาศัยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ด้วย เพราะเมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เมื่อครั้งที่ขอมยังมีอำนาจปกครองแผ่นดินไทยอยู่นั้น เมืองนี้เป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอำนาจการปกครองขิงขอมมาก่อน เป็นไปได้ว่าชาวเมืองในสมัยโบราณอาจจะเรียกแม่น้ำบางปะกงว่า “คลองลึก” หรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็น และด้วยอิทธิพลเขมรจึงไดเรียกชื่อแม่น้ำเป็นภาษาเขมรว่า “สตรึงเตรง” หรือ “ฉ่ทรึงเทรา” ครั้งเรียกกันไปนานๆ เสียงก็เพี้ยนกลายเป็น “ฉะเชิงเทรา” เมืองที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำก็พลอยได้ชื่อว่า “ฉะเชิงเทรา” ไปด้วย อย่างไร ก็ตาม คนจำนวนมากมักมีความเห็นต่างอกไปว่า ชื่อ “ฉะเชิงเทรา” น่าจะเพี้ยนจาก “แสงเชรา” หรือ “แซงเซา” หรือ “แสงเซา” อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จไปตีได้ ตามที่พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวไว้มากกว่า เพราะการออกเสียงใกล้เคียงกันมาก ยิ่งเมื่อประกอบความคิดที่ว่า เมืองตั้งขึ้นในตอนต้นกรุงศรีอยุธยา อันเป็นเวลาที่ชื่อเสียงเรียงนามต่างๆ น่าจะเป็นคำไทยหมดแล้ว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน อย่างนนทบุรี นครไชยศรีและสาครบุรี ซึ่งล้วนแต่มีเชื้อสายไทยอิทธิพลอินเดีย ยิ่งทำให้น่าเชื่อว่าเมืองนี้ไม่ใช่คำเขมร หากแต่เป็นคำไทยที่เพี้ยนมาขากชื่อเมืองในพงศาวดารนี่เอง
พื้นที่และแผ่นดิน
       ฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่กว่า 5,000 ตารางกิโลเมตรหรือกว่า 3 ล้านไร่ กว้างใหญ่กว่าเมืองอื่นใดในแผ่นดินภาคตะวันออกของไทยนอกจากจันทบุรี อาณาเขตของจังหวัดแผ่ไปจนจรดนครนายกและปราจีนยุรีทางทิศเหนือ ชลบุรีและจันทบุรีทางทิศใต้ ปราจีนบุรีทางทิศตะวันออก และกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และปทุมธานีทางทิศตะวันตก พื้นที่ทั่วไปของฉะเชิงเทราเป็นที่ราบลุ่ม เว้นแต่เพียงบางส่วนที่เป็นที่ราบลูกฟูก ที่ดอนและภูเขาเตี้ยๆ พื้นที่ราบนั้นสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนบริเวณเทือกเขาปกคลุมด้วยป่าไม้อันอุดมไปด้วยไม้มีค่าและสัตว์ป่าหายาก ทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แม่น้ำบางปะกง เส้นเลือดใหญ่ของฉะเชิงเทราก็ถือกำเนิดจากเทือกเขาเหล่านี้ แล้วไหลลงสู่เบื้องล่างเพื่อหล่อเลี้ยงให้ความสมบูรณ์กับผืนดินก่อนลงสู่ ทะเลที่อ่าวไทย
สายน้ำบางปะกงอันคดเคี้ยวแบ่งพื้นดินออกเป็นสองส่วน ฟากหนึ่งคือความเป็นเมืองอันทันสมัย อาคาร บ้านเรือนและโรงงานกำลังผุดขึ้นตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ส่วนอีกฟากหนึ่งเขียวชอุ่มไปด้วยป่าและพื้นที่เกษตรอันดารดาษด้วยนากุ้ง สวนผลไม้และนาข้าวออกรวงสีทองอร่าม ตลอดสองฝั่งน้ำ ป่าจากอันเป็นพืชดั้งเดิมคู่ลำน้ำบางปะกงยังคงหนาทึบ ใบสีเขียวเข้มเอนลู่ไหวไปมาเสียดสีกันยามต้องสายลม
ฉะเชิงเทราเป็นเมืองใกล้ทะเล มีส่วนที่ติดกับชายฝั่งยาวถึง 12 กิโลเมตรที่อำเภอบางปะกง ตลอดแนวชายฝั่งคือป่าชายเลนที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ พื้นที่ติดทะเลทำให้เมืองนี้ได้รับอิทธิพลจากลมบกและลมทะเลอย่างเต็มที่ และด้วยลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ ฉะเชิงเทราจึงชุ่มชื้นด้วยฝนที่ตกต้องตามฤดูกาล อันนำพาพืชพรรณธัญญาหารให้ผลิดอกออกผลสะพรั่งตลอดปี
ฉะชิงเทราในอดีต
       เมือง ฉะเชิงเทราถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด ไม่มีผู้ยืนยันได้แน่ชัด แต่จากที่ตั้งของเมือง นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงแห่งนี้ เมื่อหลายพันปีก่อน น่าจะเป็นแหล่งอารยะธรรมสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับที่ราบลุ่มแม่น้ำอื่นๆ ซึ่งเป็นแหล่งพักพิงอาศัยของผู้คนมาแต่โบราณ และเมื่อมีการขุดค้นพบโครงกระดูกและเครื่องประดับมีค่าอายุกว่า 5,000 ปี ณ แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ซึ่งเชื่อว่าอยู่ในเขตการปกครองของเมืองฉะเชิงเทรามาก่อน จึงเกิดเป็นหลักฐานว่า ผู้ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ในครั้งนั้น น่าจะเป็นมนุษย์โบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั้งหลายก็น่าจะตั้งรกรากอยู่ ใกล้เคียงกันตามชายฝั่งทะเลแถบนี้ จึงมีความเป็นไปได้ว่า เจ้าของอารยะธรรมที่โคกพนมดีอาจจะเป็นบรรพชนของผู้สร้างอารยะธรรมยุคสำริด อันเลื่องชื่อที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีก็ได้
       เมื่อล่วงเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ แหล่งอารยะธรรมลุ่มแม่น้ำบางปะกงดูจะมีหลัดฐานชัดเจนขึ้น แต่บ้านเมืองในยุคต้นพุทธกาลนี้ก็ยังมิได้รวมเป็นลักษณะ “อาณาจักร” ที่มีราชธานี ณ ที่ใดที่หนึ่งเป็นศูนย์กลางการกครอง คงเป็นเพียงการรวมกลุ่มขึ้นเป็น “แคว้น” หรือ “นครรัฐ” เล็กๆ กระนั้น บทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว หากพิจารณาจากสภาพภูมิศาสตร์ ชุมชนศูนย์กลางของอารยะธรรมกลุ่มแม่น้ำบางปะกงนั้น น่าจะเป็นทางออกสู่ทะเลซึ่งสามารถติดต่อซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและ วัฒนธรรมกับดินแดนโพ้นทะเล และในขณะเดียวกัน ก็สามารถนำพาสินค้าและวัฒนธรรมเหล่านั้นไปยังดินแดนภายในแผ่นดินใหญ่ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและที่ราบต่ำในกัมพูชา อันถือได้ว่าเป็นบ่อเกิดแห่งอารยะธรรมสมัยโบราณของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ได้อย่างสะดวก หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบได้ในบริเวณนั้น ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมหรือประติมากรรม ล้วนแสดงว่าชุมชนแห่งนี้มีอายุต่อเนื่องยืนยาวหลายพันปี และมีมนุษย์อาศัยสืบเนื่องมาไม่ขาดสายตั้งแต่ยุคบรรพกาล อย่าง ไรก็ตาม ชื่อ “ฉะเชิงเทรา” ได้มาปรากฏอย่างเป็นเรื่องเป็นราวครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ (พ.ศ. 1991-2031) ฉะเชิงเทราได้รับบทบาทสำคัญในการปกครอง ในฐานะหัวเมืองชั้นในหรือเมืองจัตวาที่อยู่ใกล้ราชธานีของประเทศ เช่นเดียวกับราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม นครไชยศรี นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี สมุทรสาคร ชลบุรี ปราจีนบุรี และนครนายก
       ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา บทบาทของ “เมือง” แห่งนี้ในฐานะเพื่อนร่วมทุกข์สุขของพี่น้องชาวไทยเริ่มเห็นชัดเจนเป็น รูปธรรมครั้งแรก ด้วยเหตุที่ฉะเชิงเทราตั้งอยู่ใกล้ชายแดนเขมร แต่ไหนแต่ไรมา เขมรมักถือโอกาสซ้ำเติมไทยโดยยกทัพมากวาดต้อนผู้คนอยู่เนืองๆ ในเวลาที่ไทยเพลี่ยงพล้ำในการศึกกับพม่า ในปี พ.ศ. 2126 สมเด็จพระนเรศวนมหาราชจึงได้ทรงเกณฑ์ผู้คนนับหมื่น เสด็จกรีธาทัพไปตีเมืองละแวกเพื่อแก้แค้นเขมร การศึกครั้งนั้นเป็นครั้งใหญ่ที่มีการวางแผนรบอย่างรอบครอบ และฉะเชิงเทราได้กลายเป็นขุมกำลังและแหล่งเสบียงสำคัญที่มีหน้าที่แจกจ่าย เสบียงให้แก่กองทัพหลวง ไม่ถึงสองร้อยปีให้หลัง ฉะเชิงเทราที่มีบทบาททางการเมืองอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยอีกครั้ง หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2310 ซึ่งเป็นปีที่กรุงศรีอยุธยาแตกพ่ายแก่พม่า พระยากำแพงเพชรผู้ซึ่งในภายหลังได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชได้ชุมนุมพลพันเศษ เดินทัพจากกรุงศรีอยุธยาที่ล่มแล้ว หมายจะไปซ่องสุมกำลังที่เมืองจันทบุรีเพื่อกอบกู้ชาติไทย ทัพไทยถูกทหารพม่าติดตามมาดักที่บริเวณปากน้ำเจ้าโล้ซึ่งเป็นที่ตั้งเมือง ฉะเชิงเทราในขณะนั้นจึงเกิดปะทะกันขึ้นแต่ด้วยชัยภูมิของเมืองอันเหมาะแก่ การทำสงครามกองโจรพระยากำแพงเพชรจึงสามารถตีทัพพม่าแตกพ่ายไปและเดินทางต่อ ไปได้จนถึงที่หมาย และภายหลังจากที่ฝึกปรือทหารจนมีกำลังกล้าแข็งแล้วก็ได้นำกำลังโดยใช้ ฉะเชิงเทราเป็นเส้นทางหนึ่งในการเดินทัพเข้าโจมตีพม่าที่เมืองธนบุรี แล้วขึ้นไปตีค่ายโพธิ์สามต้นซึ่งเป็นค่ายใหญ่ของพม่าที่อยุธยา ทำการกอบกู้เอกราชให้กับชาติไทยได้เป็นผลสำเร็จ
       โฉมหน้าใหม่ของเมืองนี้เริ่มชัดเจนขึ้นในช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ โดนเฉพาะอย่างยิ่งในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะเป็นเวลาที่ฉะเชิงเทราได้รับบทบาทในฐานะ “เมืองหน้าด่าน” ที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อญวนเกิดฮึกเหิม หมายจะแย่งชิงอำนาจในการปกครองเขมรและสถาปนากษัตริย์เขมรจากไทย จนเกิดเหตุลุกลามกลายเป็นสงคราม “อานามสยามยุทธ” ระหว่างไทยกับญวนดำเนินไปได้ราว 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2377 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ว่าการเมืองฉะเชิงเทราจากเดิมซึ่งตั้งอยู่ที่ปากน้ำเจ้าโล้ มาสร้างกำแพงเมืองใหม่ที่บ้านท่าไข่ แขวงเมืองฉะเชิงเทรา ชิดกับลำน้ำบางปะกง ซึ่งเป็นเสมือนกำแพงธรรมชาติที่ป้องกันศัตรูได้อย่างดี หมายให้ช่วยรักษาเมืองหลวงให้พ้นภัยจากข้าศึก กำแพงนี้นอกจากจะเป็นปราการในการปกป้องเมืองหลวงแล้ว ยังกลายเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐแห่งใหม่และเป็นเครื่องแสดงอาณาเขตของเมือง ด้วย ต่อมาเมื่อเกิดการสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ภายในกำแพง ความเป็น “เมือง” ที่มีอาณาเขตแน่นอนของฉะเชิงเทราจึงได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ “สมัยใหม่” ของฉะเชิงเทราเริ่มต้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่ง ราชวงศ์จักรี เมื่อไทยได้เปิดรับอารยะธรรมตะวันตกและเริ่มผันชีวิตความเป็นอยู่รับ สถานการณ์โลก มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมนานัปการเพื่อให้นานาชาติเห็นว่า ไทยเป็นประเทศที่มีอารยะธรรมประเทศหนึ่ง เมื่อลุถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยิ่งกว้างขวาง กิจการภายในของไทยถูกคุกคามและแทรกแซง เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ไทยพบกับภัยทางการเมืองในรูปแบบใหม่ที่รุนแรง
       ด้วย พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้หันมาใช้นโยบาย “การเมือง” นำหน้า “การทหาร” และในขณะเดียวกันก็เร่งพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัย ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกด้าน นำการปกครองระบบ “เทศาภิบาล” มาใช้โดยรวบรวมเมืองต่างๆ ขึ้นเป็น “มณฑล” โดยยึดเอาลำน้ำเป็นหลัก ฉะเชิงเทราก็ได้ร่วมมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าครั้งยิ่งใหญ่นี้ด้วย โดยให้รวมเข้าเป็นหนึ่งในมณฑลปราจีนในปี พ.ศ. 2435 ร่วมกับเมืองปราจีนบุรี นครนายก พนมสารคาม มีลำน้ำบางปะกงเป็นลำน้ำสายหลักและมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นครั้งแรก และเมื่อมีการขยายอาณาเขตโดยรวมเอาเมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุงเพิ่มเข้าไปด้วย ฉะเชิงเทราจึงกลายเป็นที่ว่าการมณฑลแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมา “มณฑลปราจีน” ในครั้งนั้นคือสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติในยุคของการล่า อาณานิคมอย่างแท้จริง ฉะเชิงเทราซึ่งเป็นที่ว่าการมณฑล ก็ได้กลายเป็นต้นฉบับของการปกครองที่ก้าวหน้าและมั่นคง ให้มณฑลอื่นๆ ได้ถือเป็นแบบอย่าง จวบจนย่างเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 เมื่อการปกครองระบบ “เทศาภิบาล” ยุติลงและเริ่มมีการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วย “ระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476”  อำนาจปกครองจึงเริ่มกระจายสู่ส่วนภูมิภาค คำว่า “เมือง” ได้เปลี่ยนเป็น “จังหวัด” มี “ผู้ว่าราชการจังหวัด” เป็นผู้ดูแลกิจการของเมือง มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศ และในปี พ.ศ. 2495 ซึ่งเป็นปีที่มีการตั้งภาคครั้งสุดท้ายของไทย ฉะเชิงเทราก็ได้รับเลือกเป็นสถานที่ตั้งภาค มีเขตความรับผิดชอบ 8 จังหวัด นับเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของเมืองนี้
สัญลักษณ์ของจังหวัดฉะเชิงเทรา
ตราประจำจังหวัด เป็นรูปพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารหลังใหม่
ต้นไม้ประจำจังหวัด นนทรีป่า
ดอกไม้ประจำจังหวัด นนทรี
คำขวัญจังหวัดฉะเชิงเทรา  แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อ่างฤๅไนป่าสมบูรณ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา


แหล่งข้อมูล
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
เว็บไซต์สาราณุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย

จังหวัดสระแก้ว Changwat Sa Kaeo

ประวัติความเป็นมา History
          ชื่อจังหวัดสระแก้ว        มีที่มาจากชื่อสระน้ำโบราณในพื้นที่อำเภอเมืองสระแก้ว ซึ่งมีอยู่ 2 สระ  ในสมัยกรุงธนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2324 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งทรงเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพยกไปตีประเทศกัมพูชา (เขมร) ได้แวะพักกองทัพที่บริเวณสระน้ำทั้งสองแห่งนี้ กองทัพได้อาศัยน้ำจากสระใช้สอย ได้ขนานนามสระทั้งสองว่า "สระแก้ว สระขวัญ" และได้นำน้ำจากสระทั้งสองแห่งนี้ใช้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยถือว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์
         สระแก้วเดิมมีฐานะเป็นตำบลซึ่งสมัยก่อนทางราชการได้ตั้งเป็นด่านสำหรับตรวจคนและสินค้า เข้า-ออก มีข้าราชการตำแหน่งนายกองทำหน้าที่เป็นนายด่าน จนถึงปี พ.ศ.2452 ทางราชการจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ชื่อว่า "กิ่งอำเภอสระแก้ว" ขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอกบินทร์บุรี โดยใช้ชื่อสระน้ำเป็นชื่อกิ่งอำเภอมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2501 ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกา  ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอชื่อว่า "อำเภอสระแก้ว" ขึ้นอยู่ในการปกครองของ จังหวัดปราจีนบุรีและต่อมาเมื่อ 1 ธันวาคม 2536 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสระแก้วขึ้น ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน 2536 เป็นผลให้จังหวัดสระแก้ว ได้เปิดทำการใน วันที่ 1 ธันวาคม 2536 โดยเป็นจังหวัดที่ 74 ของประเทศไทย
 
ตามรอยประวัติศาสตร์
        จังหวัดสระแก้วมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานนับ 4,000 ปี ตั้งแต่ยุคหินใหม่-ยุคโลหะ โดยมีการ ค้นพบวัตถุโบราณที่บ้านโคกมะกอก ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ ในยุคต่อมาก็มีการค้นพบโบราณ วัตถุอีก เช่น ที่อำเภออรัญประเทศและเขตอำเภอตาพระยา แสดงหลักฐานว่าสระแก้วเคยเป็นชุมชน สำคัญที่มีความเจริญรุ่งเรืองในยุคเจนละทวารวดี  มีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง  และมีกษัตริย์หรือผู้ครองเมืองนับถือศาสนาฮินดู  ลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย  ดังจะเห็นได้จาก โบราณสถานและจารึกรูปอักษรปัลลวะต่าง ๆ ที่ปรากฏที่ปราสาทเขาน้อย เขตอำเภออรัญประเทศ ซึ่งถือกันว่าเป็นหลักฐานบันทึกศักราชที่เก่าที่สุดในกลุ่มจารึกรุ่นแรกที่พบในประเทศไทย สร้างขึ้นราวปีพุทธศักราช 1180
        นอกจากนี้ยังพบหลักฐานความเจริญของอารยธรรมขอมระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-16 ในแถบนี้ อย่างมากมาย มีทั้งปราสาทอิฐ ปราสาทหิน เตาเผาเครื่องถ้วย และคูเมืองโปราณที่ยังหลงเหลือร่องรอย ปรากฏในปัจจุบัน เช่น จารึกพบที่ปราสาทสล็อกก็อกธมอีก 2 หลัก ซึ่งในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15 ปราสาทสด๊อกก๊อกธมได้ถูกสร้างขั้นเพื่อเป็นเทวสถานของพระศิวะ ดังข้อความในจารึกสล็อกก็อกธมหลักที่ 1 ได้กล่าวถึงว่าในปีพุทธศักราช 1480 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 โปรดให้นำศิลาจารึกมาปักไว้ที่ปราสาท สล็อกก็อกธม เพื่อประกาศห้ามเรียกข้าของเทวสถานแห่งนี้ ไปใช้ในกิจการอื่น แต่ให้ข้าของเทวสถาน ได้บำรุงรักษาและบูชาพระศิวลึงค์หรือรูปเคารพ ซึ่งได้ประดิษฐานอยู่ ณ เทวสถานสล็อกก็อกธมนี้ตลอดไป ส่วนจารึกอีกหลักหนึ่งได้กล่าวสรรเสริญ พระเจ้าอาทิตยวรมันที่ 2 ซึ่งได้ทรงบูรณะโบราณสถานแห่งนี้จนสำเร็จ พร้อมจารึกที่เกี่ยวกับอารยธรรม และศาสนา เป็นต้น
     จากจารึกและโบราณสถานที่พบนี้ สามารถบ่งบอกให้ทราบถึงระบบการปกครองของอาณาจักรขอม โบราณบนผืนแผ่นดินสระแก้วแห่งนี้  เปรียบเสมือนมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพชนที่มีคุณค่าเป็น คุณประโยชน์ต่อการศึกษายิ่ง
ที่ตั้งและอาณาเขต
       สระแก้ว เป็นจังหวัดชายแดนด้านตะวันออกตอนบนของประเทศ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา 15 ลิปดา ถึง 14 องศา 15 ลิปดาเหนือ กับประมาณเส้นแวงที่ 101 องศา 45 ลิปดา ถึง 103 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 7,195.138 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,496.961 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 19.71 ของภาคตะวันออก (เอกสารบรรยายสรุปจังหวัดสระแก้วปี 2540) โดยมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก ติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด: พระพุทธรูปปางสรีระประทับยืนบนดอกบัว ด้านหลังเป็นภาพพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ ตอนกลางเป็นภาพโบราณสถานปราสาทเขาน้อยสีชมพู
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกแก้ว (Murraya paniculata)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะขามป้อม (Phyllanthus emblica)
คำขวัญประจำจังหวัด: ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างาม น้ำตกสวย มากด้วยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย-เขมร


จังหวัดสระแก้ว

แหล่งข้อมูล
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
เว็บไซต์สาราณุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย

จังหวัดปราจีนบุรี Changwat Prachin Buri

ประวัติศาสตร์ History
สมัยก่อนอยุธยา
ปราจีนบุรีในสมัยก่อนอยุธยา เริ่มตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย แล้วพัฒนามาเป็นกลุ่มบ้านเมืองในสมัยประวัติศาสตร์ จนเข้าสู่สมัยสุโขทัย ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานทางเอกสาร แต่ได้พบเครื่องถ้วยจีนที่มีอายุตรงกับสมัยราชวงศ์ซ้อง จึงเชื่อว่า ในสมัยสุโขทัย บริเวณพื้นที่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรียังคงมีผู้คนบางส่วนอาศัยอยู่สืบเนื่องกันมา
     ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีปรากฏการตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยโบราณเมื่อประมาณ 2,000-2,500 ปี มาแล้ว ซึ่งตรงกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Proto-history) ที่แหล่งโบราณคดีบ้านกระทุ่มแพ้ว ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง บ้านหนองอ้อ ตำบลดงพระราม อำเภอเมืองปราจีนบุรี และบ้านดงชัยมัน ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม
      โบราณคดีที่พบ ได้แก่ ลูกปัดแก้วแบบอินโด-แปซิฟิกสีต่าง ๆ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน หินอะเกต หินควอตซ์ และเครื่องมือเหล็ก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียงและอินเดีย โดยเฉพาะที่บ้านดงชัยมันได้พบชิ้นส่วนกลองมโหระทึกซึ่งเป็นโบราณวัตถุในวัฒนธรรมดองซอน เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมซึ่งพบทางตอนใต้ของจีนและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย
บริเวณที่ตั้งเมืองโบราณศรีมโหสถ ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชุมชนมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 ในชุมชนบริเวณดังกล่าวรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มหมู่บ้านเกษตรกรรม มีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนกับวัฒนธรรมภายนอก แต่ยังไม่มีการสร้างเมืองที่มีคันดิน คูน้ำล้อมรอบชุมชน ในระยะนี้อาจมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรฟูนัน และมีการแลกเปลี่ยนค้าขายกับนักเดินเรือจากต่างประเทศ หลักฐานที่พบแสดงอิทธิพลวัฒนธรรมฟูนันและอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียแบบอมราวดี หลักฐานสำคัญที่พบ ได้แก่ ภาพสลักนูนต่ำและประติมากรรมบางชิ้น ที่พบในบริเวณนี้คือภาพมกรหรือเหราบางตัวที่ขอบโบราณสถานสระแก้ว มีลักษณะคล้ายมกรในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ส่วนประติมากรรม ได้แก่ พระพุทธรูปที่พบในบ่อน้ำหน้าอาคารรอยพระบาทคู่ และจากการค้นพบเครื่องมือหินขัด ทำให้พออนุมานได้ว่าชุมชนดังกล่าวน่าจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่พบตามแนวชายฝั่งทะเลเดิมบริเวณลุ่มน้ำบางปะกงแถบจังหวัดชลบุรี ซึ่งเริ่มมีถิ่นฐานเมื่อประมาณ 5,000-1,400 ปี มาแล้ว
      สรุปได้ว่า การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เริ่มแรกในเขตจังหวัดปราจีนบุรีเป็นสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายที่มีเทคโนโลยีค่อนข้างสูงในการดำรงชีวิต คือ รู้จักใช้เครื่องมือเหล็กและรู้จักใช้วิธีกักเก็บน้ำ ต่อมาสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นจนเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 6-10 ได้รับวัฒนธรรมภายนอกและเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ พัฒนาเป็นชุมชนหรือเมืองที่รู้จักกันในชื่อว่า กลุ่มวัฒนธรรมทวารวดี มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-19
      การเกิดบ้านเมืองในสมัยประวัติศาสตร์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-19 แบ่งจังหวัดปราจีนบุรีออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกมีความเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาการเป็นบ้านเมืองร่วมสมัยกับกลุ่มบ้านเมืองทวารวดีในบริเวณภาคกลางของประเทศ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 และช่วงที่ 2 เป็นการอยู่สืบเนื่องต่อจากช่วงแรก แต่สภาพสังคม การเมือง การปกครองได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เชื่อว่าช่วงเวลาดังกล่าวนี้ได้รับวัฒนธรรมเขมรโบราณเข้ามา มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมทวารวดีที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน
สมัยอยุธยา
      ในสมัยอยุธยาปรากฏชื่อเมืองปราจีนบุรีเป็นครั้งแรก คำว่า "ปราจีนบุรี" เป็นคำสมาส เกิดจากคำว่า "ปราจีน" กับคำว่า "บุรี" คำว่า "ปราจีน" หรือ "ปาจีน" หมายความว่า ทิศตะวันออก ส่วนคำว่า "บุรี" หมายความว่า "เมือง" รวมแล้วคำว่า "ปราจีนบุรี" หมายถึงเมืองตะวันออก การเขียนชื่อเมืองปราจีนบุรีแตกต่างกันไป เช่น ปราจินบุรี ปราจิณบุรี และปาจีนบุรี แต่ความหมายน่าจะหมายถึงเมืองทางตะวันออกของราชอาณาจักรไทย
       ปราจีนบุรีในฐานะหัวเมืองชั้นในด้านทิศตะวันออก สันนิษฐานว่า ในสมัยอยุธยาตอนต้นก่อนการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) เมืองปราจีนมีฐานะเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ราชธานีคือกรุงศรีอยุธยา โดยทางกรุงศรีอยุธยาจะส่งขุนนางมาปกครองโดยให้ขึ้นตรงต่อเมืองหลวง และหลังจากการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว การปกครองหัวเมืองก็เปลี่ยนไปจากเดิม คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช และแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้น เอก โท ตรี และจัตวา ทรงลดฐานะหัวเมืองชั้นในคือเมืองลูกหลวงและเมืองหลานหลวงลงมาเป็นเมืองจัตวาภายใต้การปกครองของราชธานี โดยทางราชธานีจะส่งขุนนางมาปกครองและขึ้นตรงต่อเมืองหลวง และขุนนางที่ปกครองหัวเมืองชั้นในเรียกว่า "ผู้รั้ง" เขตที่จัดเป็นหัวเมืองชั้นในมีอาณาบริเวณดังนี้ ทิศเหนือจดเมืองชัยนาท ทิศตะวันออกจดเมืองปราจีน ทิศตะวันตกจดสุพรรณบุรี ทิศใต้จดเมืองกุยบุรี เมืองปราจีนบุรีหลังการปฏิรูปในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงเป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นกับราชธานี ตำแหน่งเจ้าเมืองหรือผู้รั้งมีบรรดาศักดิ์และราชทินนามที่ออกพระอุไทยธานี
       จากลักษณะทำเลที่ตั้งของเมืองปราจีน เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้กับประเทศกัมพูชา เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดปราจีนบุรีในสมัยอยุธยาจึงเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับสงครามระหว่างสองราชอาณาจักร โดยฝ่ายกัมพูชามักจะเป็นต้นเหตุซึ่งอาจเนื่องมาจากกัมพูชาเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเป็นราชอาณาจักรใหม่จึงไม่ยอมรับอำนาจมากนัก ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยามีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงและขณะเดียวกันราชอาณาจักกัมพูชากลับเสื่อมโทรมภายในมากขึ้น กัมพูชาจึงยอมรับราชอาณาจักรอยุธยาในฐานเจ้าประเทศราช กษัตริย์ กัมพูชาต้องมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารหลายครั้ง
      แต่อย่างไรก็ดี เมื่อกรุงศรีอยุธยามีศึกติดพันกับพม่าหรือมีความอ่อนแอภายใน กัมพูชาก็ถือโอกาสมากวาดต้อนผู้คนตามแนวชายแดนของราชอาณาจักรอยุธยาอย่างเมืองปราจีน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงยกทัพไปตีกัมพูชาโดยใช้เส้นทางบก โดยยกทัพหลวงออกจากกรุงศรีอยุธยามาทางตะวันออก ผ่านพิหานแดง (วิหารแดง) บ้านนา เมืองนครนายก ด่านกบแจะ (ประจันตคาม) ด่านหนุมาน (กบินทร์บุรี) ด่านพระปรง (อำเภอแมืองสระแก้ว) ช่องตะโก ด่านพระจารึกหรือพระจฤต (อรัญประเทศ-ตาพระยา) ตำบลทำนบ อยู่ระหว่างเมืองอรัญประเทศกับเมืองพระตะบอง ตำบลเพนียด เมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ และเมืองละแวก
สมัยธนบุรี
       ในสมัยธนบุรีได้กล่าวถึงเมืองปราจีนเพียงว่าเป็นเมืองที่อยู่ในเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ยกทัพจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองจันทบุรี กล่าวคือเมื่อ พ.ศ. 2309 ขณะที่กองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งเป็นพระยากำแพงเพชรทรงเล็งเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาจะเป็นอันตราย จึงรวบรวมทหารไทย จีน ประมาณ 1,000 คนเศษ พร้อมด้วยอายุธออกไปตั้ง ณ วัดพิชัย พอฝนตกพระยากำแพงเพชรจึงนำกองทัพฝั่งกองทัพพม่าออกมาจากวัดพิชัย เดินทัพต่อไป โดยมีจุดหมายอยู่ที่เมืองจันทบุรี โดยเมืองปราจีนบุรีอยู่ในเส้นทางเดินทัพ ซึ่งตามพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับจันทนุมาศ (เจิม) ได้กล่าวไว้ว่า …เมื่อวันพุธขึ้นแปดค่ำ เดือนยี่ ยกกองทัพมาประทับที่ตำบลหนองไม้ซุง ตามทางหลวงนครนายก ประทับรอนแรม 2 วันถึงบ้านนาเริ่ง ออกจากบ้านนาเริ่งวันหนึ่งถึงเมืองปราจีน ข้ามด่านกบและหยุดพักพลหุงอาหาร ณ ฟากตะวันออกแล้วยกข้ามไปจนถึงบ่าย 5 โมง…
สมัยรัตนโกสินทร์
      ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองปราจีนยังคงเป็นเมืองผ่านของเส้นทางเดินทัพระหว่างไทยกับกัมพูชา มีผู้คนอยู่อาศัยมากขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นหลายเมือง เช่น เมืองกบินทร์บุรี เมืองอรัญประเทศ เมืองวัฒนานคร เป็นต้น ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองบางขนากขึ้น ส่งผลให้การติดต่อระหว่างเมืองปราจีนบุรีกับพระนครสะดวกรวดเร็วขึ้น
ต่อมาในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้มีพระราชดำริที่จะสร้างป้อมเมืองปราจีน แต่ได้ลงมือสร้างและแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)   ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองปราจีนเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ เพราะมีการค้นพบแหล่งทองคำที่เมืองกบินทร์บุรี มีการทำเหมืองทองคำ ต่อมาเมื่อปฏิรูปการปกครองจากระบบกินเมืองเป็นระบบเทศาภิบาล ได้ใช้เมืองปราจีนเป็นที่ว่าการมณฑลปราจีน ส่งผลให้เมืองปราจีนกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคตะวันออก ครั้นเมื่อได้ย้ายที่ว่าการมณฑลปราจีนไปอยู่ที่เมืองฉะเชิงเทรา ทำให้เมืองปราจีนลดความสำคัญลง ประกอบกับเส้นทางคมนาคมเปลี่ยนไป คือมีการตัดเส้นทางรถไฟจากรุงเทพฯ ถึงเมืองฉะเชิงเทรา มีคนจีนไปสร้างหลักแหล่งในฉะเชิงเทรามากขึ้น มีโรงงานน้ำตาล โรงสีข้าว อันส่งผลให้เมืองฉะเชิงเทรากลายเป็นศูนย์กลางความเจริญแทนเมืองปราจีนบุรี
       หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 ให้มีตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดแบบผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรมการจังหวัด และสภาจังหวัด ส่งผลให้มณฑลเทศาภิบาลปราจีนบุรีถูกยกเลิกไป เมืองปราจีนบุรีมีฐานะเป็นจังหวัดปราจีนบุรี
        ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2485 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครองบางจังหวัด พุทธศักราช 2485 ให้ยุบและรวมการปกครองจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนครนายก จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนนทบุรี ในส่วนของจังหวัดนครนายกนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับจังหวัดปราจีนบุรีโดยกำหนดไว้ดังนี้  มาตรา 4 ให้ยุบจังหวัดนครนายกและให้รวมท้องที่ของจังหวัดที่ยุบเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี เว้นแต่ท้องที่อำเภอบ้านนาให้รวมเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดสระบุรี…
     การรวมท้องที่บางส่วนของจังหวัดนครนายกไว้ในเขตการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรีส่งผลให้จังหวัดปราจีนบุรีที่เดิมมีท้องที่กว้างขวางอยู่แล้ว มีท้องที่กว้างขวางเพิ่มมากขึ้นเกินกำลังจังหวัดจะรับผิดชอบ การติดต่อดูแลทุกข์สุขของประชาชนและการปกครองของราษฎรไม่เป็นผลดีเหมือนเมื่อนครนายกเป็นจังหวัดอยู่ กระทรวงมหาดไทยจึงได้เสนอร่างหลักการพระราชบัญญัติสถาปนาจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2489 โดยได้สอบถามจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระบุรี และในที่สุดรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2489 โดยระบุในพระราชบัญญัติว่า  มาตรา 6 ให้แยกอำเภอนครนายก อำเภอองครักษ์ และอำเภอปากพลีออกจากการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี กับให้แยกอำเภอบ้านนาออกจากการปกครองของจังหวัดสระบุรี จัดตั้งเป็นจังหวัดขึ้นเรียกว่าจังหวัดนครนายก ต่อมา พ.ศ. 2536 ได้มีการแบ่งเขตพื้นที่การปกครองจังหวัดปราจีนบุรี โดยแยกพื้นที่อำเภอบางอำเภอไปอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดสระแก้ว ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2536
จังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดนครนายกและจังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดสระแก้ว
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดนครนายกและจังหวัดฉะเชิงเทรา
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกปีบ (Millingtonia hortensis)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ศรีมหาโพธิ์ (Ficus religiosa)
คำขวัญประจำจังหวัด: ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี


                                                                    จังหวัดปราจีนบุรี


แหล่งข้อมูล
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
เว็บไซต์สาราณุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย

















จังหวัดชลบุรี Changwat Chon Buri

ประวัติเมืองชล  History  of chon buri    
       จังหวัดชลบุรี เป็นดินแดนที่ปรากฏขึ้นมาในหน้าประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยทวารวดี  ขอม  และสุโขทัย  แต่เดิมเป็นเพียงเมืองเกษตรกรรมและชุมชนประมงเล็กๆหลายเมืองกระจัดกระจายกันอยู่ห่างๆ โดยในทำเนียบศักดินาหัวเมืองสมัยอยุธยากำหนดให้ชลบุรีเป็นเมืองชั้นจัตวา  ส่วนแผนที่ไตรภูมิก็มีชื่อตำบลสำคัญของชลบุรีปรากฏอยู่  เรียงจากเหนือลงใต้  คือ เมืองบางทราย  เมืองบางปลาสร้อย  เมืองบางพระเรือ  (ปัจจุบันคือบางพระ) และเมืองบางละมุง  แม้ว่าจะเป็นเพียงเมืองเล็กๆ แต่ก็อุดมไปด้วยทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล  มีการทำไร่  ทำนา ทำสวน  และออกทะเลมาแต่เดิม  นอกจากนี้ยังมีการติดต่อกับชาวจีนที่ล่องเรือสำเภาเข้ามาค้าขายกับกรุงสยามด้วย
ดินแดนที่เรียกว่าจังหวัดชลบุรี   มีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว   คือสามารถย้อนไปได้จนถึงยุคหินขัด  เช่น บริเวณที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำพานทองเคยมีมนุษย์ยุคหินใหม่อาศัยอยู่ โดยชนกลุ่มนี้นิยมใช้ขวานหินขัดเพื่อการเก็บหาล่าไล่ รวมถึงใช้ลูกปัดและกำไล ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีลายที่เกิดจากการใช้เชือกทาบลงไปขณะดินยังไม่แห้ง  นอกจากนี้ยังพบเศษอาหารทะเลพวกหอย  ปู  และปลาอีกด้วย   เมื่อปี พ.ศ. 2522 ได้มีการขุดสำรวจที่ตำบลพนมดี อำเภอพนัสนิคม พบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์โคกพนมดี  ทำให้สันนิษฐานได้ว่า  ภายในเนื้อที่ 4,363 ตารางกิโลเมตรของชลบุรี  อดีตเคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีความรุ่งเรืองถึง 3 เมือง  ได้แก่  เมืองพระรถ  เมืองศรีพโล  และ เมืองพญาแร่  โดยอาณาเขตของ 3 เมืองนี้รวมกันเป็นจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน
เมืองพระรถ
     ในสมัยทวารวดีและสมัยลพบุรี ประมาณ 1,400-700 ปีก่อน บริเวณตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคมในปัจจุบัน มีร่องรอยของเมืองใหญ่ชื่อ “เมืองพระรถ” ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มซึ่งแม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำพานทอง โดยสามารถใช้แม่น้ำสายนี้เป็นทางคมนาคมติดต่อกับเมืองศรีมโหสถในจังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันคือบริเวณบ้านสระมะเขือ  บ้านโคกวัด และบ้านหนองสะแก อำเภอศรีมโหสถ)  จนไปถึงอำเภออรัญประเทศได้  อีกทั้งยังมีเส้นทางเดินเท้าเชื่อมไปถึงจังหวัดระยองและจันทบุรี  ผ่านเมืองพญาเร่ซึ่งเป็นเมืองโบราณสำคัญอีกแห่งหนึ่งของชลบุรี  เมืองพระรถจึงกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของชลบุรีในยุคนั้น
นอกจากนี้  นักโบราณคดียังสำรวจพบว่าเมืองพระรถเป็นเมืองโบราณยุคเดียวกับเมืองศรีพโล หรือเก่ากว่าเล็กน้อย  เนื่องจากปรากฏว่ามีทางเดินโบราณเชื่อมต่อสองเมืองนี้ในระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร
เมืองศรีพโล
      “เมืองศรีพโล” ตั้งอยู่บริเวณบ้านอู่ตะเภา ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี หน้าเมืองมีอาณาเขตจรดตำบลบางทรายในปัจจุบัน  เคยมีผู้ขุดพบโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปทองคำ สัมฤทธิ์ แก้วผลึก ขันทองคำ ถ้วยชามสังคโลกคล้ายของสุโขทัย จระเข้ปูน และก้อนศิลามีรอยเท้าสุนัข เป็นต้น นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเมืองศรีพโลเป็นเมืองในสมัยขอมเรืองอำนาจแห่งภูมิภาคอุษาคเนย์ และอาจจะมีอายุร่วมสมัยกับลพบุรีซึ่งอยู่หลังยุคอู่ทอง  และก่อนยุคอยุธยาคือประมาณปี พ.ศ. 1600-1900
      จากการขุดค้นทางโบราณคดีทำให้ทราบว่า  ตัวเมืองศรีพโลตั้งอยู่ใกล้กับปากน้ำบางปะกง  โดยเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนในสมัยสุโขทัย  เมืองนี้มีฐานะเป็นเมืองท่าชายทะเลที่มั่งคั่ง  เปิดรับเรือสำเภาจากจีน กัมพูชา และเวียดนาม ให้มาจอดพักก่อนเดินทางต่อไปยังปากน้ำเจ้าพระยา (เป็นที่น่าเสียดายว่ากำแพงเมืองศรีพโลได้ถูกทำลายไปหมดสิ้นจากการก่อสร้างถนนสุขุมวิท จึงไม่เหลือร่องรอยทางโบราณคดีไว้ให้ศึกษา)  ต่อมาในสมัยอยุธยาเมืองศรีพโลก็ค่อยๆหมดความสำคัญลง อาจเพราะปากแม่น้ำตื้นเขินจากการพัดพาสะสมของตะกอนจำนวนมหาศาล  ประชาชนจึงย้ายถิ่นฐานลงมาสร้างเมืองใหม่ที่ “บางปลาสร้อย” ซึ่งก็คือ “เมืองชลบุรี” ในปัจจุบัน (วัดใหญ่อินทารามในตัวเมืองชลบุรีปัจจุบัน ยังปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังการค้าขายระหว่างคนไทย จีน  และฝรั่ง  บ่งบอกถึงบรรยากาศการค้าขายอันคึกคักในอดีต)
เมืองพญาเร่
     “เมืองพญาเร่” ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ่อทอง  อำเภอบ่อทอง เป็นเมืองยุคทวารวดีเช่นเดียวกับเมืองพระรถ  เมืองนี้ตั้งอยู่ในเขตที่สูง ห่างจากเมืองพระรถประมาณ 32 กิโลเมตร ลักษณะผังเมืองเป็นรูปวงรี 2 ชั้น ชั้นแรกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1,100 เมตร ส่วนชั้นในประมาณ 600 เมตร โดยคูเมืองและคันดินของตัวเมืองชั้นนอกทางด้านเหนือยังคงปรากฏเห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน
      เมืองพญาเร่มีการติดต่อกับเมืองพระรถอยู่เนืองๆโดยใช้คลองหลวงเป็นเส้นทางสัญจร  ปัจจุบันลำคลองนี้ยังคงอยู่  โดยเป็นคลองสายสำคัญและมีความยาวที่สุดของจังหวัดชลบุรี   ทุกวันนี้การทำนาในอำเภอพนัสนิคมและอำเภอพานทอง  ยังคงอาศัยน้ำจากคลองนี้  เนื่องจากมีแควหลายสายแตกสาขาออกไป  แควใหญ่ที่สุด  คือ  แควที่เกิดจากทิวเขาป่าแดง
สมัยกรุงศรีอยุธยา
     เมืองชลบุรีปรากฏเป็นหลักฐานในทำเนียบศักดินาหัวเมือง ตราเมื่อ พ.ศ. 1919 มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้รักษาเมืองคือ “ออกเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร” ศักดินา 2,400 ไร่ ส่งส่วยไม้แดง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ในปี พ.ศ. 2309 ขณะที่กรุงศรีอยุธยาถูกทัพพม่าล้อมอยู่นั้น กรมหมื่นพิพิธซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่ถูกเนรเทศไปลังกา ได้กลับมาเกลี้ยกล่อมรวบรวมชายฉกรรจ์ทางหัวเมืองภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ระยอง บางละมุง ชลบุรี และปราจีนบุรี เข้าร่วมกองทัพ  อ้างว่าจะยกไปช่วยกรุงศรีอยุธยารบพม่า ในครั้งนั้นชาวชลบุรีได้ให้การสนับสนุนเข้าร่วมทัพเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งเมืองชลบุรีแทบจะกลายเป็นเมืองร้าง
     เมื่อกรมหมื่นเทพพิพิธยกไพร่พลไปตั้งมั่นที่ปราจีนบุรีแล้ว  จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์ ณ กรุงศรีอยุธยา ขออาสาช่วยป้องกันพระนคร แต่พระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์ทรงพระราชดำริว่า กรมหมื่นเทพพิพิธเป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูงจนถูกเนรเทศมาแล้วครั้งหนึ่ง การที่มาเรียกระดมผู้คนเข้าเป็นกองทัพโดยพลการครั้งนี้ก็เป็นการทำผิดกฎมณเทียรบาล จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพจากกรุงศรีอยุธยาไปปราบกรมหมื่นเทพพิพิธจนบอบช้ำ จากนั้นพม่ายังได้ส่งกองทัพเข้าโจมตีกองทัพกรมหมื่นพิพิธจนแตกพ่าย  จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 ชาวชลบุรีได้ให้ความร่วมมือกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในการกอบกู้อิสรภาพอย่างใกล้ชิด  จนสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้สำเร็จ
สมัยกรุงรัตโกสินทร์
     สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระอินทอาษาชาวเมืองเวียงจันทน์  ได้พาชาวลาวจำนวนหนึ่งอพยพเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งถิ่นอาศัยอยู่ระหว่างเมืองชลบุรีและฉะเชิงเทรา (บริเวณเมืองพนัสนิคมในปัจจุบัน)  ครั้นต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4-6  พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ของสยาม  ได้เสด็จประพาสชลบุรีหลายหน เนื่องจากชลบุรีเป็นเมืองชายทะเลที่มีทัศนียภาพงดงาม  เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ  อีกทั้งไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครมากนัก
จนถึงปี พ.ศ. 2350 พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่)  รัตนกวีของไทย ได้เดินทางจากกรุงเทพมหานคร ไปเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง ได้เขียนไว้ในนิราศเมืองแกลงกล่าวถึงเมืองต่างๆ เมื่อเข้าถึงเขตจังหวัดชลบุรีตามลำดับจากเหนือไปใต้  คือ บางปลาสร้อย  หนองมน  บ้านไร่  บางพระ  บางละมุง  นาเกลือ  พัทยา  นาจอมเทียน  ห้วยขวาง  และหนองชะแง้ว (ปัจจุบันเรียกบ้านชากแง้ว อยู่ในเขตอำเภอบางละมุง ซึ่งเป็นทางที่จะไปอำเภอแกลง จังหวัดระยองได้)
     ในช่วง พ.ศ. 2437 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักรที่เป็นหัวเมืองเล็กๆแบบโบราณ ยุบรวมเข้าด้วยกัน ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยหน่วยงานเดียว  ดังมีบันทึกว่า “รวมหัวเมืองทางลำน้ำบางปะกง คือ เมืองปราจีนบุรี 1 เมืองนครนายก 1 เมืองพนมสารคาม 1 เมืองฉะเชิงเทรา 1 รวม 4 หัวเมือง เป็นเมืองมณฑล 1 เรียกว่า มณฑลปราจีน” ตั้งที่ว่าการมณฑล ณ เมืองปราจีน ต่อเมื่อโอนหัวเมืองในกรมท่ามาขึ้นกระทรวงมหาดไทย จึงย้ายที่ทำการมณฑลลงมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา  เพราะขยายอาณาเขตมณฑลต่อลงไปทางชายทะเล รวมเมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี  และเมืองบางละมุง  เพิ่มให้อีก 3 รวมเป็น 7 เมืองด้วยกัน แต่คงเรียกชื่อว่ามณฑลปราจีนอยู่ตามเดิม 
      ครั้นถึงช่วงปี พ.ศ. 2458 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงรวมมณฑลจัดตั้งขึ้นเป็น “ภาค” โดยมีอุปราชเป็นผู้ปกครอง  มีอำนาจเหนือสมุหเทศาภิบาล มีด้วย กัน 4 ภาค คือ ภาคพายัพ ภาคปักษ์ใต้ ภาคอีสาน และภาคตะวันตก สำหรับภาคกลางให้คงเป็นมณฑลอยู่อย่างเดิม เรียกว่ามณฑลอยุธยา มีอุปราชปกครองแทนสมุหเทศาภิบาล การปกครองหัวเมืองแบบแบ่งเป็นภาคและมีตำแหน่งอุปราชเช่นนี้ยกเลิกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2468 ในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยกลับไปใช้ในลักษณะเป็นมณฑลอย่างเดิม ในลักษณะที่มีจำนวนมากถึง 20 มณฑล และภายใน 10 ปีต่อมา คือก่อน พ.ศ. 2475 ได้ยุบลงเหลือเพียง 10 มณฑลเป็นครั้งสุดท้าย
สัญลักษณ์และคำขวัญประจำจังหวัด     
 ตราประจำจังหวัดชลบุรี     ตราจังหวัดชลบุรีเป็นรูปภูเขาอยู่ริมทะเล  แสดงถึงสัญลักษณ์สำคัญ 2 ประการของจังหวัด  คือ “ทะเล”  หมายถึงความเป็นเมืองชายทะเลที่อุดมสมบูรณ์  และ “รูปภูเขาอยู่ริมทะเล” หมายถึงเขาสามมุข  อันเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแม่สามมุขอันศักดิ์สิทธิ์   เป็นที่เคารพของชาวชลบุรี  ตลอดจนประชาชนทั่วไป  ซึ่งต่างมีความเชื่อตรงกันว่า ศาลเจ้าแม่สามมุขสามารถดลบันดาลให้ความคุ้มครองผู้ที่มาเคารพกราบไหว้ให้พ้นจากภยันตรายต่างๆได้  โดยเฉพาะการออกไปประกอบอาชีพจับปลาในท้องทะเล เขาสามมุขจึงกลายเป็นปูชนียสถานและสัญลักษณ์สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของชาวชลบุรีมาโดยตลอด
คำขวัญประจำจังหวัด
“ทะเลงาม  ข้าวหลามอร่อย   อ้อยหวาน  จักสานดี  ประเพณีวิ่งควาย”
ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัด
     ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี  คือ  ประดู่ป่า  ชื่อวิทยาศาสตร์  Pterocarpus  macrocarpus  Kurz  พรรณไม้ชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว  (Papilionoideae)  เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่  สูง 15-25 เมตร  เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด  แผ่นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ  มีดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน  โดยลักษณะดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ  กลีบดอกสีเหลืองอ่อน  และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ  สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์  เช่น  เนื้อไม้ใช้ปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน  แก่นให้สีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า  เปลือกให้น้ำฝาดชนิดหนึ่งใช้ย้อมผ้าได้ดี  ใบผสมกับน้ำใช้สระผม  และประโยชน์ในทางสมุนไพร  คือ  แก่นมีรสขมฝาดร้อน  ใช้บำรุงโลหิต  แก้กระษัย  แก้คุดทะราด  แก้ผื่นคัน  และขับปัสสาวะพิการ


                                                                       จังหวัดชลบุรี

แหล่งข้อมูล
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
เว็บไซต์สาราณุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย